GSPA: Theses

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 307
  • Thumbnail Image
    Item
    โครงสร้างและประสิทธิผลองค์การ: กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
    กิตติยา เหล็กมั่น; ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
    วัตถุประสงคข์องการศึกษาวิจัยครั้งนี้มี 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการโครงสร้าง องค์การ บริษทั การบินไทย จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างโครงสร้าง องค์การกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์เทคโนโลยีคน/วัฒนธรรมองค์การและการจัดการของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่สำคัญได้แก่กลุ่มคณะกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น พนักงาน ท้งัอดีตและปัจจุบนัของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และกลุ่มผู้บริหาร หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำกับดูแล บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) รวม จำนวนทั้งหมด 21 คน ผลการศึกษาพัฒนาการของโครงสร้างองค์การ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) พบว่า นับตั้งแต่การก่อตั้งบริษัท ฯ ในปีพ.ศ. 2502-2559 ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ระยะที่1 ระหว่าง ปี พ.ศ. 2502-2533 ช่วงการก่อตั้งบริษัท ฯ และเริ่มมีโครงสร้างองค์การอย่างง่าย สายบังคับ บัญชาไม่ซับซ้อน ส่วนระยะที่2 ระหว่างปีพ.ศ. 2534-2549 เป็นช่วงเวลาของการดำเนินธุรกิจในฐานะบริษัทมหาชน จำกัด อย่างเต็มตัวโดยระยะนี้บริษัท ฯ มีผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการ มีโครงสร้างที่ขยายขนาด การจัดลำดับขั้น สายบังคับบัญชามีความซับซ้อนและมุ่งเน้นระเบียบใน การดำ เนินงานอย่างเคร่งครัดส่งผลให้โครงสร้างมีลักษณะแบบราชการ โดยจำนวนหน่วยงาน ภายในโครงสร้างองค์การระหว่าง ปีพ.ศ. 2543-2548 ตั้งแต่ระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไปมีจำนวน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 24.08 โดยเฉพาะจำนวนหน่วยงานในปี พ.ศ. 2548 มีมากที่สุด ถึง 1,175 หน่วยงาน ซึ่งลักษณะโครงสร้างองค์การดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความอิสระคล่องตัวใน การดำเนินงาน และระยะที่3คือ พ.ศ. 2550-2559 บริษัท ฯ ประสบปัญหาการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนตามแผนปฏิรูปบริษัทฯ ปีพ.ศ. 2558-2560 อย่างไรก็ ตาม บริษัทฯ ได้ดำเนินนโยบายการปรับเปลี่ยนสายการบังคับบัญชาเป็นกลุ่มงานและปรับปรุงโครงสร้างองค์การสายงานรวมถึงฝ่ายงานต่างๆ ทำให้จำนวนหน่วยงานในโครงสร้างองค์การลดลง แต่หากพิจาณาโครงสร้างองค์การในปี พ.ศ. 2559 กลับพบว่าฝ่ายงานต่างๆ และตำแหน่งผู้บริหาร หน่วยงานระดับสูงมีจำนวนเพิ่มขึ้นจนมากเกินความจำเป็น ผลการศึกษาความความสอดคล้องระหว่างโครงสร้างองค์การกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน/วัฒนธรรมองค์การ และการจัดการของบริษทั การบินไทย จำกัด (มหาชน) ระหว่างปีพ.ศ. 2550-2559 พบว่าสิ่งแวดล้อมไม่คงที่และวุ่นวายมากกลยุทธ์เป็นแบบเชิงรับ ด้านเทคโนโลยีมีความซับซ้อนมาก ความหลากหลายของงานสูง คน/วัฒนธรรม บุคลากรบริษัทฯ ยังมี มากเกินความจำเป็น การทำงานของบุคลากรส่วนใหญ่มุ่งเน้นเงินเดือน โบนัสและตำแหน่งงาน มากกว่าความสำเร็จของงานรวมไปถึงความแข็งแกร่งของระบบอุปถัมภ์ในองค์การ โครงสร้าง องค์การเป็นโครงสร้างองค์การแบบเครื่องจักร มุ่งเน้นกฎระเบียบ ลำดับขั้นสายบังคบบัญชามีความซับซ้อน และการจัดการ อำนาจการตัดสินใจส่วนใหญ่ยังอยู่ที่ผู้บริหารระดับสูง ส่งผลให้การ กระจายอำนาจอยู่ในระดับน้อย ทั้งนี้เมื่อนำปัจจัยทั้งหมดมาพิจารณาตามกรอบแนวคิดทฤษฎี โครงสร้างตามสถานการณ์(Structural Contingency Theory) ของ Gareth Morgan สามารถสรุปได้ ว่า ตำแหน่งของปัจจัยต่างๆ ไม่มีความสอดคล้องกันส่งผลทำให้ไม่เกิดประสิทธิผลองค์การ เท่าที่ควรรวมไปถึงการศึกษาประสิทธิผลของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ระหว่างปีพ.ศ. 2550-2559 พบว่าด้านความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนดำเนินงาน สำหรับภาพรวม สามารถดำเนินการตามแผนงานได้ประมาณร้อยละ 50-60 ด้านผลประกอบการบริษัทฯ ประสบ ปัญหาการขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่อง ส่วนการจัดอันดับสายการบินโดยสถาบันสกายแทรกซ์ (Skytrax) บริษัท ฯ ไม่ถูกจัดให้เป็น 1 ใน 10 สายการบินที่ดีที่สุดในโลกนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2556 โดย ภาพรวมสามารถสรุปได้ว่า บริษัท ฯ ยังไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุประสิทธิผลได้ ข้อเสนอแนะของการศึกษาคร้ังนี้คือ วางแนวทางการปรับโครงสร้างองค์การให้ชัดเจน และปฏิบัติได้จริง เน้นการเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน ปรับสายบังคับบัญชาให้มีความกระชับและไม่ซับซ้อน ลดความซ้ำซ้อนของหน่วยงานในองค์การ สนับสนุนให้มีระบบการ ประสานงานระหว่างหน่วยงาน ในลักษณะร่วมคิด ร่วมทำร่วมรับผิดชอบ ตลอดจนการส่งเสริม การทำงานเป็นทีม จะช่วยให้การปรับปรุงโครงสร้างองค์การประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
  • Thumbnail Image
    Item
    คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน : กรณีศึกษาแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า โรงงานผลิตอาหาร อาหารกระป๋อง และอาหารแช่แข็ง จังหวัดสมุทรสาคร
    เสริมขวัญ วงศ์ตลาดขวัญ; ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยระดับคุณภาพชีวิดการทำงาน และวิจัยความสัมพันธ์ ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ โดยทำการวิจัยแรงานต่างด้าวสัญชาติ พม่าที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานจัดหางานอย่างถูกล้องดามกฎหมาย และทำงานอยู่ในโรงงานผลิต อาหาร อาหารกระป้อง และอาหารแช่แข็ง จังหวัดสมุทรสาครทั้งสิ้น 7 โรงงาน จำนวน 375 คน ใช้ การสัมภาษณ์และแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ด้านคุณลักษณะของ ผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน 6 ด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย ค่าตอบแทนที่ เพียงพอและยุติธรรม สภาพการทำงานที่ปลอดภัย โอกาสในการเพิ่มและพัฒนาขีดความสามารถ ในการทำงาน การทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น สิทธิและเสรีภาพในการทำงาน ความสมดุระหว่างานกับชีวิดส่วนตัว และด้านความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน 3 ด้าน ซึ่ง ประกอบไปด้วย ความระลึกและกล่าวถึงองค์การในเชิงบวก ความปรารถนาเป็นสมาชิกของ องค์การต่อไป และความทุ่มเทในการทำงาน นำข้อมูลที่ไห้ประมวลผลและวิเคราะห์ผลด้วย โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) ในการบรรยายข้อมูลเบื้องต้นผู้วิจัย ใช้สถิติเชิงพรรณนา ((Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ((Standard Deviation: S.D.) และใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi- square Test) เป็นสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ในการทคสอบสมมติฐานที่ ได้ตั้งไว้ ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมแรงานต่างด้าวสัญชาติพม่ามีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ใน ระดับพึงพอใจมาก โดยมีระดับความพึงพอใจมากเกือบทุกด้าน สำหรับระดับความพึงพอใจมาก ที่สุดคือด้านสภาพการทำงานที่ปลอดภัย โดยมีค่าเฉลี่ย 2.87 รองลงมาคือด้านสิทธิเสริภาพในการทำงาน โดยมีค่าเฉลี่ย 2.83 และด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิดส่วนตัว โคยมีค่าเฉสี่ย 2.78 ยกเว้นค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุดิธรรมเพียงด้านเดียวที่มีความพอใจอยู่ในระดับปานกลาง โดยมี ค่าเฉลี่ย 2.26 สะท้อนให้เห็นว่าในภาพรวม (Total Compensation) แรงงานพม่าล้วนพึงพอใจมาก กับสวัสดิการและคำตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า สถานประกอบการ สามารถบริหารจัดการคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างตัวเรื่องคำตอบแทนให้มีความ เพียงพอและยุดิธรรมได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อพิจารณาผลการวิจัยในมิติฐานเงินเดือน (Base Salary) พบว่า แรงานพม่ายังมีความกังวลในเรื่องของเงินล่วงเวลา (OT) ที่น้อยลง และค่าครองชีพใน ประเทศไทยที่สูงขึ้น ส่งผลให้การเก็บออมรายได้บางส่วนเพื่อใช้จ่ายในอนาคตไม่เพียงพอ ด้วยเหตุ นี้จึงทำให้ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมมีระดับความพึงพอใจปานกลาง ฉะนั้นการปรับ ขึ้นค่าแรงจึงไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด แต่ควรปรับค่าครองชีพให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับ รายได้ ประกอบกับสถานประกอบการควรมีสวัสดิการให้ความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายประเภทอื่น ๆ ที่ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของแรงงานด้วย เช่น อาหารกลางวัน ที่พักพนักงาน รถรับส่ง เป็น ต้น เพื่อให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตการทำงานด้านคำตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมดียิ่งขึ้น สำหรับการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ของแรงานต่างด้าวพบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานทั้ง 6 ด้านน มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อ องค์การของแรงานต่างด้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐานที่ตั้ง ไว้ทั้ง6 ข้อ นอกจากนี้จากการวิจัยยังพบว่า หากคุณภาพชีวิตในการทำงานดีย่อมส่งผลให้แรงงาน ต่างด้าวเกิดความผูกพันต่อองค์การ ทำให้มีความปรารถนาเป็นสมาชิกขององค์การต่อไป มีความ ระลึกถึงองค์การเสมอ อยากมีส่วนร่วมต่อองค์การและปฏิบัติดามกฎระเบียบขององค์การ ตลอดจน กล่าวถึงองค์การในเชิงบวกและมีความทุ่มเทในการทำงานมากขึ้น ฉะนั้นองค์การควรศึกษา พฤติกรรมหนักงาน เพื่อเข้าใจความต้องการ เข้าถึงความรู้สึก และนำไปสู่การพัฒนาพนักงานและ องค์การ เพื่อวางกรอบแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานให้มีประสิทธิภาท สามารถสนอง ความต้องการของพนักงานได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้เพื่อให้รูปแบบการสร้างคุณภาพชีวิดในการ ทำงานมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการของพนักงานแต่ละฝ่ายหรือแผนก ตลอดจน เหมาะสมกับคำนิยมวัฒนธรรมองค์การ องค์กรควรเข้าไปศึกษาพฤติกรรมพนักงานในฝ่ายนั้นๆ ไม่ควรวางกรอบแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานภาพเดียวเพื่อเป็นสูตรสำเร็จ แล้วใช้ พัฒนากับทุกฝ่ายขององค์การ
  • Thumbnail Image
    Item
    การประเมินผลและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการกระจายผลประโยชน์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กรณีศึกษา : สถาบันระดับอุดมศึกษา
    ธนภณริทธิ์ ธนภัทร์เศวตโชติ; พลภัทร บุราคม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
    การศึกษาวิจัยในคร้ังนี้มีวตัถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาผู้กู้ยืม เงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อหลกัเกณฑ์การให้กู้ยืม 3) เพื่อศึกษาการกระจายผลประโยชน์ ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของนักศึกษาผู้กู้ยืมในระดับอุดมศึกษา ว่าครัวเรือนที่ยากจน สามารถเข้าถึงผลประโยชน์ของกองทุนได้มากน้อยเพียงใด และ 4) เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขในการดำเนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น วิธีดำเนินการวิจัยได้ใช้การศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Method Research)โดยใช้ข้อมูล ทั้งเชิงปริมาณที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง และข้อมูลเชิง คุณภาพที่ได้จากการศึกษาทบทวนจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวขอ้ง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสถาบันการศึกษาของรัฐ และสถาบันการศึกษาในกำกับของรัฐผลการศึกษา พบว่า 1) กระบวนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อ การศึกษา พบว่าการกำหนดเกณฑ์รายได้ของผู้มีสิทธิกู้ยืมที่สูงเกินไปทำให้กองทุนเงินให้กูย้มืเพื่อ การศึกษาไม่สามารถเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้มีรายได้ต่ำได้อย่างแท้จริงการที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้อำนาจสถานศึกษาในการดำเนินงานให้กู้ยืมมากเกินไป โดยที่ขาดกลไกกำกับ ดูแลและตรวจสอบจากกองทุนฯ ทำให้เกิดช่องว่างในการแสวงหาผลประโยชน์จากเงินให้กู้ยืมของ สถานศึกษา การขาดกลไกในการตรวจสอบการจัดสรรเงินกู้ยืม การขาดกลไกการติดตามชำระหนี้คืนที่มีประสิทธิภาพ การขาดกลไกในการติดตามและประเมินผลทำให้การดำเนินงานของกองทุนฯ ผิดพลาด และไม่สามารถประเมินผลการดำเนินงานได้อย่างตรงเป้าหมาย 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อ หลักเกณฑ์การให้กู้ยืม พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคร้ังนี้มีความพึงพอใจต่อหลักเกณฑ์การให้กู้ยืม เงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้ว พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากทุกด้าน ซึ่งด้านการกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินคืน กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการกำหนดเงื่อนไขกระบวนการขอกู้ยืมเงิน ด้านการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้กู้ยืม และด้านการกำหนดเงื่อนไขขอบเขตวงเงินให้กู้ยืมกลุ่มตวัอย่างมีความพึงพอใจน้อยที่สุด ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ด้านการกำหนดเงื่อนไขการ ชำระเงินคืน มีความเหมาะสมและมีความเป็นธรรมที่จะช่วยให้คนที่ยากจนสามารถมีสิทธิเข้าถึง การกู้ยืมเงินของกองทุน ในขณะที่ด้านการกำหนดเงื่อนไขขอบเขตวงเงินให้กู้ยืม ยังไม่มีความเหมาะสมกบัครัวเรือนที่ยากจน และค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษายังไม่เพียงพอ สำหรับการเรียนของคนที่ยากจน จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อหลักเกณฑ์การให้กู้ยืม พบว่า นักศึกษาผู้กู้ยืมในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และ นักศึกษาผู้กู้ยืมในกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์มีความคิดเห็นว่า หลักเกณฑ์การให้กู้ยืมเงินของ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่มหาวิทยาลัยของรัฐและ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมีความคิดเห็นว่า หลักเกณฑ์การให้กู้ยืมเงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) การกระจายผลประโยชน์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของนักศึกษาผู้กู้ยืมในระดับอุดมศึกษา พบว่า ผลประโยชน์ตกกับครัวเรือนที่มีรายได้ปานกลางมากกว่า ครัวเรือนที่ยากจนที่สุด ทำ ให้โอกาสในการเข้าถึงผลประโยชน์ของกองทุนของครัวเรือนที่ยากจนไม่สามารถ เข้าถึงได้อย่างแท้จริง ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สะท้อนให้เห็นว่า การกระจายผลประโยชน์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มีการจัดสรรเงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ไม่มีความเป็นธรรม 4) ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย ได้แก่1) นโยบายการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ผู้มีสิทธิกู้ยืมจากเฉพาะผู้ที่มีรายได้ต่ำ 2) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อ การศึกษาควรมีกลไกการตรวจสอบหรือกำกับดูแลจากกองทุนฯ ในการจัดสรรเงินกู้ยืมเพื่อให้การดำเนินงานให้กู้ของสถานศึกษาในสังกัดมีการให้กู้มีที่ถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง
  • Thumbnail Image
    Item
    ประเด็นปัญหาการจัดสรรค่าภาคหลวงแร่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น "กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
    สิริพงษ์ เทยสงวน; อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
    การวิจัยในครั้งนี้เริ่มจากคำถามวิจัยที่ว่า ประเด็นปัญหาในจัดสรรค่าภาคหลวงแร่ให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในมุมมองขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดงคืออะไร มีหน่วยงานใดที่เกี่ยวข้อง และจะ มีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร เนื่องจากในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายการกระจาย อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ก็ยังคงพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งยังไม่ได้รับการ กระจายอำนาจ โดยเฉพาะในมิติของการจัดสรรงบประมาณยังคงไม่ทั่วถึง ซึ่งในบางพื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่สำคัญและสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล แต่งบประมาณที่กลับคืนสู่ท้องถิ่นหรือชุมชนนั้น ยังไม่เพียงพอและทั่วถึงทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านต่าง ๆ เช่น รายได้ สุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อมไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยชิ้นนี้คือ เพื่อศึกษาถึงประเด็นปัญหาใน จัดสรรค่าภาคหลวงแร่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในมุมมองขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดงคือ อะไร เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลในเชิงลึก และอาจจะนำไปสู่การค้นพบการแก้ปัญหาให้กับพื้นที่ที่ผู้วิจัยศึกษาได้ อย่างตรงจุด
  • Thumbnail Image
    Item
    การนำนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพกำลังคนอาชีวศึกษาไปปฏิบัติ กรณีศึกษา : สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
    ณัฐธิดา เอื้อประเสริฐ; พลอย สืบวิเศษ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการนำนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพ กำลังคนอาชีวศึกษาไปปฏิบัติ กรณีศึกษา: สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยที่ มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพกำลังคนอาชีวศึกษาไปปฏิบัติ งานวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจัยได้ใช้การศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็น หลัก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอยางบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครทั้ง 13แห่ง จำนวน 309 ตัวอย่าง และเสริมด้วยการ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงผู้บริหาร ระดับต้น ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน ข้าราชการบำนาญที่ปรึกษาประจำกลุ่มนโยบายและ แผนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและแผน รวมทั้งสิ้นจำนวน 12 ท่าน เพื่อทำให้การศึกษาในครั้งนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 1) สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เป็ นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และเกิดจากการรวมตัวของของสถานศึกษาทั้ง 13แห่ง เพื่อเข้าร่วมเป็นสถาบัน ตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 ซึ่งมีหน้าที่หลักใน การมุ่งสร้างและผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาทั้ง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เมื่อได้รับนโยบายมาแล้วนั้น สถาบันได้ทำการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันการ อาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อให้ตรงกับบริบทของสถาบัน สถานศึกษาในสังกัดและชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งยึดเป็นกรอบและแนวทางในการขับเคลื่อนของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อให้สอดคล้องเป็นไปตามแนวนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพกาลังคนอาชีวศึกษา 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพกำลังคนอาชีวศึกษาไป ปฏิบัติ ระดับความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษา โดยรวมอยูในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน 6 ด้าน พบว่า (1) ปัจจัยด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย ระดับความคิดเห็นของ บุคลากรในสถานศึกษาพบว่าอยู่ในระดับมาก และมีอิทธิพลต่อการนำโยบายไปปฏิบัติ (2) ปัจจัยด้านทรัพยากรองค์การ ระดับความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาพบว่าอยูในระดับมาก แต่ไม่มีอิทธิพลต่อการนำโยบายไปปฏิบัติ (3) ปัจจัยด้านการสื่อสารระหว่างองค์การ ระดับ ความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาพบว่าอยู่ในระดับมาก และมีอิทธิพลต่อการนำโยบายไปปฏิบัติ (4) ปัจจัยด้านลักษณะขององค์การที่นำไปปฏิบัติ ระดับความคิดเห็นของบุคลากรใน สถานศึกษาพบว่าอยู่ในระดับมาก แต่ไม่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ (5) ปัจจัยด้านเงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ระดับความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาพบว่า อยูในระดับมาก และมีอิทธิพลต่อการนำโยบายไปปฏิบัติ และ (6) ปัจจัยด้านความร่วมมือและการ ตอบสนองของผู้ปฏิบัติ ระดับความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาพบวาอยู่ ในระดับมาก และมีอิทธิพลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ตามลำดับ
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส: กรณีศึกษา แผนปฏิบัติการ การแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2558-2560
    ศักรินทร์ เสาร์พูน; ประพนธ์ สหพัฒนา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
    การศึกษาในคร้ังนี้มีวตัถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับ ของปัจจัยสู่ความสำเร็จในการนำแผนปฏิบัติการการแก้ไขปัญหาและพัฒ นาจงัหวัดชายแดนภาคใต้พ.ศ.2558-2560 ไปปฏิบัติใน พื้นที่จังหวัดนราธิวาส 2) ศึกษาระดับความสำเร็จในการนำ แผนปฏิบัติการการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2558-2560 ไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำแผนปฏิบัติการการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2558-2560 ไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัด นราธิวาส และ 4) แสวงหาแนวทางและข้อเสนอแนะที่ เหมาะสมในการนำแผนปฏิบัติการการแกไข้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2558- 2560ไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ผู้วิจัยได้ใช้การศึกษาวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยเน้นการวิจัย เชิงปริมาณเป็ นหลัก (Quantitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยการสำรวจ (Survey Research) จากกลุ่มตัวอย่างผู้นำประชาชน จำนวน 407 ตัวอย่างและเสริมข้อมูลด้วยการ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยสัมภาษณ์ผู้นำประชาชน จำนวน 10 คน ครอบคลุมทั้ง 13 อำเภอในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับปัจจัยสู่ความสำเร็จในการนำแผนปฏิบัติการการแกไข้ปัญหา และพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2558-2560ไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส พบว่าระดับปัจจยัสู่ความสำเร็จรวมทุกด้านอยู่ในระดับสูง 2) ระดับความสำเร็จในการนำแผนปฏิบัติการ การ แก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2558-2560ไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส พบว่าแผนปฏิบัติการการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้พ.ศ.2558-2560 ประสบ ความสำเร็จทุกด้าน และอยู่ในระดับสูง โดยด้านที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ ด้านการอยู่ ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม รองลงมาคือ ด้านความเข้าใจและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงาน ของภาครัฐ ส่วนด้านการลดการใช้ความรุนแรงในพื้นที่และแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดย สันติวิธีและด้านการมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขอยู่ในลำดับที่ สามและสี่ ตามลำดับ ทำให้สถานการณ์ในภาพรวมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสมีแนวโน้มการ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น 3) ปัจจยัที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำแผนปฏิบัติการการ แก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้พ.ศ.2558-2560ไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจำนวน 4 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่มีอิทธิพลหรือความสัมพันธ์มากที่สุดไปหาปัจจัยที่มีอิทธิพลหรือ ความสัมพันธ์น้อยสุด ได้แก่ปัจจัยการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและภาคประชาชนใน กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติปัจจัยกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐที่นำนโยบาย ไปปฏิบัติ ปัจจัยสมรรถนะและความเพียงพอของทรัพยากร และปัจจัยทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐที่ เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ 4) แนวทางและข้อเสนอแนะที่เหมาะสมในการนำแผนปฏิบัติ การการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้พ.ศ.2558-2560ไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัด นราธิวาสให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด คือ ภาครัฐต้องจัดให้มีเวทีประชาคม หรือเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อเปิดโอกาสและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการกำหนดนโยบายการนำนโยบายแผนปฏิบัติการ หรือโครงการการพัฒนาต่าง ๆ ไปปฏิบัติในพื้นที่หรือให้ ประชาชนและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการที่อยู่ในพื้นที่ร่วมกัน เสนอโครงการเพื่อของบประมาณ สนับสนุนการพัฒนาในหมู่บ้าน ชุมชนของตนเอง เนื่องจากความต้องการหรือปัญหาของประชาชน ในแต่ละพื้นที่ย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้น การสนับสนุนส่งเสริมด้านการพัฒนาให้ตรง กับความต้องการและศักยภาพของประชาชนในพื้นที่จะทำให้ประชาชนสนับสนุนการทำงานในด้านอื่น ๆ ของภาครัฐตามมาด้วย รวมทั้งการติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบการทำงาน รวมทั้งตรวจสอบการใช้งบประมาณหน่วยงานภาครัฐและเจ้าหน้าที่รัฐในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและเป็นไปตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของ นโยบาย