GSEDA: Theses

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 102
  • Thumbnail Image
    Item
    การลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายบนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย
    (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022) วสวัตติ์ กฤษศิริสวัสดิ์; วิชชุดา สร้างเอี่ยม
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำความเข้าใจถึงรูปแบบและวิธีการของการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายในประเทศไทย และพิสูจน์ว่าสื่อสังคมออนไลน์ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญของขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า ซึ่งส่งผลให้ปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าในประเทศไทยยังคงมีความรุนแรงอยู่ โดยได้ทำการศึกษาจากการเก็บข้อมูลโพสต์การลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายที่เกิดขึ้นในกลุ่มการซื้อขายสัตว์เลี้ยงบนเฟซบุ๊ก และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกกับชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดงซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยเชิงเหตุผลที่เพียงพอต่อการนําไปวิเคราะห์และอภิปรายผลการศึกษา จากการติดตามกลุ่มการซื้อขายสัตว์เลี้ยงบนเฟซบุ๊กจำนวน 8 กลุ่ม ในระยะเวลา 1 ปี พบว่า มีการโพสต์ซื้อขายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าทั้งหมด 248 โพสต์ แบ่งเป็นโพสต์ขาย 192 โพสต์ (77.6%) จาก 26 ผู้โพสต์ และโพสต์ซื้อ 56 โพสต์ (22.4%) จาก 54 ผู้โพสต์ ซึ่งมีสัตว์ป่าจำนวนกว่า 270 ตัว จาก 13 ชนิด ถูกนำมาโพสต์ขายในราคา 1,200 - 60,000 บาทต่อตัว ชนิดพันธุ์ที่พบจำนวนโพสต์มากที่สุดคือ นากเล็กเล็บสั้น (Aonyx cinereus) โดยแหล่งที่มาของการโพสต์ขายสัตว์ป่าสูงสุดคือจังหวัดนราธิวาสและยะลา จากผลการศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงบนโลกออนไลน์ ซึ่งอาจยังไม่สามารถยืนยันความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้อย่างแน่ชัด อีกทั้งการศึกษาครั้งนี้ไม่ได้มีการคัดกรองรูปแบบของการโพสต์ที่มีลักษณะเป็นข้อมูลซ้ำออก ดังนั้นผลการศึกษาครั้งนี้จึงอาจเป็นเพียงการประเมินค่าของการเกิดอาชญากรรมลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายบนสื่อสังคมออนไลน์ที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง แม้ว่าในปัจจุบันการเข้ามาของชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดง รวมถึงการปรับบทลงโทษทางกฎหมายที่รุนแรงมากขึ้น อาจเป็นแนวทางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพต่อการแก้ไขปัญหาการก่ออาชญากรรมด้านสัตว์ป่า แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสื่อสังคมออนไลน์ยังคงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสนับสนุนการลักลอบค้าสัตว์ป่า นอกจากนี้กลุ่มผู้ค้าสัตว์ป่ายังคงมีปรับตัวและรูปแบบวิธีการให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่อยู่เสมอ ดังนั้นการทำความเข้าใจถึงรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของวิธีการ แนวโน้ม สถานการณ์ และปัจจัยสำคัญของการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายบนสื่อสังคมออนไลน์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานภาครัฐควรให้ความสนใจ รวมถึงการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างองค์กรด้านสื่อสังคมออนไลน์กับหน่วยงานภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนากลไกทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีต่อการเผชิญหน้ากับปัญหาการก่ออาชญากรรมลักลอบค้าสัตว์ป่าบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
  • Thumbnail Image
    Item
    รูปแบบนวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกอย่างยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ ตำบลตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
    (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022) ภัทรธิดา สามัคคี; วิสาขา ภู่จินดา
    การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์และการจัดการขยะพลาสติกวิเคราะห์ศักยภาพของการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกอย่างยั่งยืน และความต้องการของนักท่องเที่ยวด้านบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติก และเพื่อเสนอรูปแบบนวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกอย่างยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ ตำบลตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยวิธีการศึกษา ประกอบด้วย การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มผู้บริหาร ผู้นำชุมชน และผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะพลาสติก ในองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดใหม่ รวมทั้งสอบถามนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเดินทางมาท่องเที่ยวที่อุทยานประวัติศาสตร์ตำบลตลาดใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 600 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จากนั้นนำข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ CIPPI Model เป็นกรอบในการเสนอรูปแบบนวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติก ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีการคัดแยกขยะพลาสติกเพื่อนำไปขาย ส่วนขยะพลาสติกที่ไม่สามารถขายได้ประชาชนในพื้นที่จะนำมาทิ้งในถังขยะ เพื่อรอรถเก็บขนขยะที่องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดใหม่มีการจัดจ้าง ศักยภาพด้านแรงงานคนในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกในพื้นที่ตำบลตลาดใหม่ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ด้านงบประมาณ ยังไม่มีงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะพลาสติกที่ต้นทางเพราะตำบลตลาดใหม่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ดังนั้นจึงควรมีการดำเนินการหางบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ด้านวัสดุและอุปกรณ์ โดยวัสดุที่ใช้ คือผักตบชวา เนื่องจากมีปริมาณมาก และส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำในพื้นที่ และยังไม่มีงบประมาณสำหรับการจัดซื้อเครื่องขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ ด้านการบริหารจัดการ มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับวงจรการเกิดและผลกระทบด้านลบจากขยะพลาสติก รวมถึงการผลิตจานผักตบชวา และจากการศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวด้านบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติก พบว่า รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการมีลักษณะเป็นจานก้นลึกมีขนาดความสูง 4 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร ผลิตจากพืชหรือ ใบไม้ โดยใช้ผักตบชวา มีสีดั้งเดิมจากวัสดุธรรมชาติที่ใช้ สามารถใช้ซ้ำได้ 4-5 ครั้ง และความถี่ในการซื้อ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ โดยระดับความคิดเห็นความต้องการ และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ คือ บรรจุภัณฑ์มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และจากการประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยป้อน กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบ ผู้วิจัยจึงเสนอรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกอย่างยั่งยืนจากผักตบชวาสำหรับนำมาใช้ในแหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ตำบลตลาดใหม่ อำเภอเวิศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
  • Thumbnail Image
    Item
    แนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานคร
    (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022) จิรัฏฐ์ จันต๊ะคาด; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์และปัญหาจากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครปัจจุบัน (2) ศึกษาความรู้ความเข้าใจที่ส่งผลต่อความตระหนักและพฤติกรรมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของภาคประชาชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) เสนอแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาเชิงผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บรวบรวม ข้อมูลปฐมภูมิจากการลงพื้นที่ทำแบบสอบถามกับประชากรกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานครจำนวน 480 ราย รวมทั้งการสัมภาษณ์ตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อหาแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้า และข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ STATA ยอมรับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 384,233 ตันในปีพ.ศ 2558 เพิ่มเป็น 435,187 ตันในปีพ.ศ. 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ในระยะ 7 ปีที่ผ่าน และขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่เข้าสู่กระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้อง โดยสามารถจัดการได้เพียงร้อยละ 22 หรือ 147,293.96 ตันของปริมาณที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทำให้ยังมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ตกค้างหรือไม่สามารถจัดการได้หลงเหลืออยู่ ทั้งนี้พฤติกรรมของประชาชนส่วนใหญ่บริโภคสินค้าไปตามกระแสความนิยม และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ประกอบการทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความต่อเนื่อง รวมถึงยังไม่แรงจูงใจทางด้านระบบเศรษฐศาสตร์ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ และข้อจำกัดด้านกฎระเบียบและแนวทางการปฏิบัติเพื่อการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวม นอกจากนี้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจต่อความตระหนักและพฤติกรรมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ในการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยภายในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อเดือนเฉลี่ย 1.31 ชิ้น และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์และหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับสูง (ค่าระดับคะแนน 1.34 – 2.00) จำนวน 409 ราย และ 370 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.2 และร้อยละ 77.1 ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในแหล่งที่อยู่อาศัยได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกจากการบริการของภาครัฐกว่าครึ่งหนึ่งในระดับน้อย (ค่าระดับคะแนน 0.00 – 0.66) จำนวน 283 ราย คิดเป็นร้อยละ 59 ส่วนใหญ่มีความตระหนักในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับสูง (ค่าระดับคะแนน 1.34 – 2.00) จำนวน 339 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.6 รวมทั้งมีพฤติกรรมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในแหล่งที่อยู่อาศัยตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอยู่ในระดับสูง (ค่าระดับคะแนน 1.34 – 2.00) จำนวน 367 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.5 อย่างไรก็ตามการจะบรรลุถึงความยั่งยืนในอนาคตหรือการจะเป็นมหานครสีเขียวในเอเชีย การจัดการปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งผลสู่การบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ โดยต้องอาศัยการสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะผู้บริหารต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน ทั้งด้านนโยบาย มาตรการ รวมทั้งกลยุทธ์ที่ใช้แก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในชุมชนให้แน่ชัด อีกทั้งควรผลักดันและสร้างการรับรู้ต่อหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อการจัดการขยะของบุคลากรทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติงาน เพื่อขับเคลื่อนแนวคิดไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในบุคลากรทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติงานด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีความรู้ความเข้าใจแนวคิดและหลักการดำเนินงานหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ กระบวนการผลิตได้อีก (Make-Use–Return) หากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนให้ความร่วมมือจะส่งผลให้เดินหน้าเข้าสู่การดำเนินเศรษฐกิจในรูปแบบดังกล่าวอย่างสมดุลในทุกด้าน ภายใต้วิสัยทัศน์เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด ลดผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การผลิต การบริโภค การจัดการของเสีย และการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่
  • Thumbnail Image
    Item
    บทบาทมหาวิทยาลัยในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะรอบพื้นที่ : กรณีศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และย่านบางกะปิ
    (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022) เตชินท์ ก้อนนิล; ณพงศ์ นพเกตุ
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิด และต้นแบบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระดับประเทศไทย และระดับต่างประเทศ ศึกษากระบวนการขับเคลื่อนโครงการของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยในด้านเมืองอัจฉริยะ และเพื่อถอดบทเรียนกระบวนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพื่อปรับใช้กับพื้นที่อื่นๆ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็นข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ คือ 1) ข้อมูลปฐมภูมิ คือการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยเฉพาะสถานการณ์การขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะในระดับประเทศไทย และระดับต่างประเทศ  และ 2)  ข้อมูลทุติยภูมิ ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะย่านบางกะปิ จากนั้นจึงนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ SWOT Analysis  และนำผลที่ได้มาสรุปเป็นพรรณาความ ความร่วมไม้ร่วมมือในการยกระดับย่านคลองจั่นบางกะปิให้เป็นเมืองที่ทันสมัยเกิดจากกลุ่มชนชั้นนำ (technocrat) โดยมีหน่วยงานสำคัญ 3 หน่วยงาน คือ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสาตร์ (นิด้า) กรุงเทพมหานคร และชุมชนเคหะคลองจั่น สังกัดการเคหะแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นศูนย์กลาง แต่ที่สำคัญ คือ ได้รับความสนใจ ร่วมคิดและร่วมลงทุนการพัฒนาออกแบบจากบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม กลุ่มห้างสรรพสินค้า ผู้แทนชุมชนและสมาคมนักศีกษาเก่านิด้า เป็นต้นโดยแรกเริ่มเกิดจากการที่นิด้าได้เข้าร่วมโครงการออกแบบเมืองอัจฉริยะ-รู้รักษ์พลังงานตามโครงการสำคัญของสำนักงานส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานในปี พ.ศ. 2559 และดำเนินโครงการมาแล้วเสร็จ ปี พ.ศ. 2561 ได้เกิดแผนแม่บทเมืองอัจฉริยะนิด้าขึ้นมา จากนั้นจึงมีการประสานงานกับกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเขตบางกะปิในการนำแนวคิดเมืองอัจฉริยะนิด้าขยายผลเพื่อเตรียมพร้อมการเปิดใช้รถไฟฟ้า 2 สาย ซึ่งมีแผนการจะเปิดใช้งานประมาณปี พ.ศ. 2565 – 2566 โดยมีผู้นำทางธุรกิจสำคัญ 2 บริษัท คือ กลุ่มผู้บริหารบริษัทปัญญาคอนซัลแตนท์ที่ร่วมคิด วางแผน สำรวจและดำเนินการออกแบบพัฒนา  และกลุ่มผู้บริหารบริษัท NMARK (น้อมจิตต์) ที่เป็นกิจการที่มีความผูกพันธ์กับพื้นที่มานาน เป็นผู้นำของภาคเอกชนในพื้นที่ในการเป็นแกนกลางการประสานงานระหว่างภาคเอกชนในพื้นที่และหน่วยงานภาครัฐรวมถึงสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ข้อเสนอแนะ และแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทยโดยมีสถาบันการศึกษาเป็นผู้ขับเคลื่อน พบว่ามี 4 แนวทาง คือ 1) การสร้างผู้นำจุดประกายการพัฒนาเมือง 2) การสำรวจความพร้อมของทรัพยากรของเมืองและการหาแนวร่วมความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ 3) การสร้างองค์ความรู้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเมืองทุกภาคส่วน และ 4) การสร้างกลไกการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมในพื้นที่
  • Thumbnail Image
    Item
    ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านป่าสักงาม อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
    (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009) พาณิภัค สุขพรหม; จินตนา อมรสงวนสิน
    การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ส่งผลต่อความ หลากหลายทางชีวภาพและการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการความหลากหลายทาง ชีวภาพของชุมชนบ้านป่าสักงาม รวมถึงศึกษาลักษณะ ระดับ และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม ของชุมชนในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนบ้านป่าสักงาม อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยรวบรวมข้อมูล จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ประกอบกับการการสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้าง จากประชาชนชุมชนบ้านป่าสักงาม จำนวน 100 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-Square Test) ผลการศึกษาพบว่า ผลจากการมีปฏิสัมพันธ์ติดต่อกับภายนอกชุมชน ประกอบกับ นโยบายการจัดการป่าไม้ของภาครัฐ และกระแสการพัฒนาตามระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขึ้นภายในชุมชนบ้านป่าสักงาม แยกพิจารณาตาม ช่วงเวลาได้ เป็น 3 ยุค คือ 1) ยุคการตั้งถิ่นฐาน เป็นช่วงเวลาการตั้งถิ่นฐานของชุมชน สภาพทั่วไป ของชุมชนยังคงเป็นสังคมเกษตรกรรม มีการนำภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวลัวะมาใช้ในการจัดการ ความหลากหลายทางชีวภาพ 2) ยุควิกฤตทรัพยากร เป็นช่วงเวลาที่มีการทำสัมปทานป่าไม้ และ การทำไม้นอกระบบภายในชุมชน ชุมชนได้เรียนรู้วิธีการทำไม้จากกลุ่มคนภายนอกที่เข้ามาใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ของชุมชน จึงทำให้ชุมชนละทิ้งภูมิปัญญาดั้งเดิมและหันเข้าสู่การทำ ไม้นอกระบบอย่างเต็มตัว ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้กลายเป็นสินค้าหลักของชุมชน มีการใช้ทรัพยากรอย่างเกินขอบเขตจนเกิดความ เสื่อมโทรม และ กระทบต่อเคน และ 3) การเรียนรู้และปรับตัว เป็นช่วงเวลาที่ ชุมชนได้เรียนรู้วิธีการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จากการส่งเสริมของ หน่วยงานภาครัฐ และได้นำความรู้มาผสมสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนเพื่อใช้ในการ อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางภาพในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารซึ่ง เป็นที่ตั้งของชุมชน จนทรัพยากรป่าไม้ที่เคยเลี่ยมโหจนกลับคืนความสมบูรณ์ ในด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความหลากหลายทาง ภาพ ประชาชน ส่วนใหญ่ยังคงมีส่วนร่วมในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนน้อย อีกทั้งมีความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในระดับ ต่ำ เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการจัดการความหลากหลาย ทางชีวภาพอังกายในชุมชนยังไม่ทั่วถึง อีกทั้งประชาชนมีความคาดหวังต่อบทบาทของผู้นำชุมชน และบทบาทของนักพัฒนาในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในระดับสูง เนื่องจากผู้นำ ชุมชนและนักพัฒนามีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทาง และกิจกรรมการจัดการความ หลากหลายทางการของชุมชน และจากการทดสอบสมมติฐานพบว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และความคาดหวังต่อบทบาทนักพัฒนาในการ จัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประชาชน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของชุมชนใน การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้คือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรจัดให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิ ปัญญาดั้งเดิมของชุมชน และจัดให้มีกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น ควบคู่กับการ ส่งเสริมความรู้ด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารให้กับชุมชน อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งและสร้างความยั่งยืนในการจัดการความหลากหลาย ทางชีวภาพของชุมชน
  • Thumbnail Image
    Item
    การประเมินผลระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย กรณีศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง
    (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018) เขมณัฏฐ์ รัตนนิกรเจริญ; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อประเมินผลระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ รวมท้ังนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงระบบการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) ที่ได้ประยุกต์ใช้ตัวแบบการประเมินผล CIPP Model มาเป็นกรอบ แนวคิดในการศึกษาและโดยปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับการประเมินผลระบบการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยมีองค์ประกอบที่นำมาพิจารณา 5 องค์ประกอบหลัก คือ บริบทโครงการ ปัจจัยในการเข้ากระบวนการผลผลิต และผลกระทบโดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ เชิงลึก (In-depth Interviews) ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participatory Observation) กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ควบคู่กับการวิจัยเอกสาร (Documentary Research)ผลการศึกษาโดยสรุป พบว่าด้านบริบทโครงการการจัดทำ EIA ในประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัยสามารถปฏิบัติได้จริง และควรให้ความสำคัญกับจรรยาบรรณของผู้จัดทำ EIA รวมทั้งความต้องการและความกังวลใจของสมาชิกใน ชุมชน และศักยภาพในการรองรับการพัฒนาของพื้นที่ด้านปัจจัยนำเข้าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ จัดทำ EIA มีความรู้ความเข้าใจในขั้น ตอนและวิธีการจัดทำ EIA ยกเว้นสมาชิกในชุมชนที่ยังขาด ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้านกระบวนการควรมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ครบถ้วน และ เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางตลอดจนควรให้ ความสำคัญกับการนำความคิดเห็นของประชาชนไปสู่การปฏิบัติด้านผลผลิต หน่วยงานเจ้าของโครงการและบริษัทที่ปรึกษาได้ดำเนินการจัดทำรายงาน EIA ตามที่ระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง กำหนด และดำเนินการโดยนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาภายใต้การกำกับดูแลของ ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังมีข้อจำกัดการเข้าถึงรายงาน EIA ฉบับสมบูรณ์ ด้านผลกระทบ สมาชิกในชุมชนบางส่วนเกิดความไม่มั่นใจต่อความเป็นอิสระด้านวิชาการของบริษัทที่ปรึกษาในการ จัดทำ EIA แต่มีความมั่นใจในประสบการณ์และความเป็นมืออาชีพของบริษัท ที่ปรึกษารวมทั้งมี ความเห็นว่าการสร้างการมีส่วนร่วมและการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ประชาชนมีความ มั่นใจต่อโครงการและอาจช่วยลดความขัดแย้งและทำให้โครงการกับสมาชิกในชุมชนสามารถอยู่ ร่วมกันอย่างยั่งยืนได้นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่าการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ ขณะที่การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและขาดความสนใจที่จะแสวงหาความรู้ เกี่ยวกับผลกระทบของโครงการและการที่หน่วยงานเจ้าของโครงการมักต้องการจะเก็บอำนาจการ ตัดสินใจในประเด็นสำคัญ ๆ เอาไว้เองแทนการกระจายอำนาจให้กับชุมชนอาจเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญในกระบวนการจัดทำ EIA ของโครงการ ส่วนข้อเสนอแนะสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย ภาครัฐควรปรับปรุงขอ้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำ EIA และควรให้ความสำคัญ อย่างสูงกับการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยมีการกำกับดูแลทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ หน่วยงานที่รับผิดชอบ โครงการพัฒนาและบริษัทที่ปรึกษาควรยกระดับความสำคัญ ของการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของ กระบวนการจัดทำ EIA และควรให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณด้านการมีส่วนร่วมของ ประชาชนให้มากขึ้นให้สอดคล้องกับ จำนวนพื้นที่หรือสมาชิกในชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ และ สมาชิกในชุมชน ควรมีการเตรียมความพร้อมอย่างเพียงพอในการเข้าร่วมกระบวนการมีส่วนร่วม กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาและควรกำหนดให้มีหน่วยงานที่เป็นกลางทำหน้าที่ในการจัดจ้างที่ปรึกษาในการจัดทำ EIA