GSEDA: Theses
Permanent URI for this collectionhttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2948
Browse
Recent Submissions
Item ความขัดแย้งจากการพัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัย: กรณีศึกษาโครงการ วอเตอร์ฟรอนท์ พัทยา ไทยแลนด์นุชนา สกุลสถาพร; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)ในปัจจุบันเมืองพัทยามีการพัฒนาคอนโดมิเนียมตามแนวชายหาดพัทยาอย่างกระจัดกระจายตั้งแต่พัทยาเหนือจรดพัทยาใต้อย่างไรก็ตามการพัฒนาดังกล่าวมีทั้งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบสําหรบผลกระทบทางลบหากไม่ไดรับการแก้ไขหรือเยียวยาจะนํามาซึ่งความขัดแย้ง ดังเช่นกรณีความขัดแย้งจากการพัฒนาโครงการวอเตอร์ฟร้อนท์พัทยาไทยแลนด์กับคนเมืองพัทยาดังนั้น การวจิยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของความขัดแย้งสาเหตุของความขัดแย้งจากการพัฒนาโครงการวอเตอร์ฟร้อนท์พัทยาไทยแลนด์และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนโดยรอบผู้พัฒนาโครงการกับหน่วยงานของรัฐโดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกบการทบทวนวรรณกรรมผลการศึกษาพบว่าสาเหตุความขัดแย้งตามวงกลมแห่งความขัดแย้งได้แก่ความเชื่อต่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ระหว่างประชาชนในพื้นที่กับผู้พัฒนา โครงการและประชาชนยังไม่เชื่อมั่นในขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างและขั้นตอนการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมประชาชนผู้อาศัยโดยรอบยังขาดการรับรู้ข้อมูลโครงการจากผู้พัฒนาโครงการและหน่วยงานภาครัฐเมื่อความขัดแย้งไม่ได้รับการแก้ไขผู้พัฒนาจึงไม่สามารถดําเนินการโครงการต่อไปได้นําไปสู่ความขัดแย้งระหว่างผู้พัฒนาโครงการและหน่วยงานรัฐจากการเสียผลประโยชน์ทางธุรกิจส่วนเสนอแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งนั้นพบว่าหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานท้องถิ่นควรร่วมกันหาข้อเท็จจริงชี้แจงและไกล่เกลี่ยโดยคนกลางรวมทั้งผู้พัฒนาโครงการจะต้องดำเนินการตามกฎหมายและมาตรการทางสิ่งแวดล้อมอย่างเครงครัดItem ผลกระทบจากแคดเมียมที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตของถั่วเหลือง รุ่น f2พัชริดา ตริยาสุข; ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)การศึกษาผลกระทบจากแคดเมียมที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตของถั่วเหลืองรุ่น f2 โดย การปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 เพื่อศึกษาสมรรถภาพการเจริญเติบโต ลักษณะภายนอก และการให้ผลผลิตของถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่60 รุ่น f1 ในดินที่มีความเข้มข้นของแคดเมียมในการปลูกแตกต่างกัน และรุ่น f2 ที่น ามาปลูกต่อในดินที่ไม่ผสมแคดเมียม เพื่อทราบปริมาณการปนเปื้อนสูงสุดของแคดเมียมในดินที่สามารถนำมาใช้ในการปลูกถั่วเหลืองเพื่อการขยายพันธุ์(f1) ทำการวิจัยเชิงทดลองโดยการน าถั่วเหลือง รุ่น f1 ปลูกในกระถางบรรจุดินน้ำหนัก 4.50กิโลกรัม ปริมาณความเข้มข้นของแคดเมียมไนเตรทในดินที่แตกต่างกัน คือ 0, 20.0, 40.0, 60.0, 80.0 และ 100 พีพีเอ็ม จำนวนความเข้มข้นละ 40 ซ้ำ วางแผนแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ที่ได้ไปปลูกต่อจนได้ถั่วเหลืองเชียงใหม่ 60รุ่น f2 ผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า ปริมาณแคดเมียมในดินส่งผลเสียต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และคุณค่าทางโภชนะด้านโปรตีนและไขมันของถั่วเหลือง ทั้งรุ่น f1 และ f2 อย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05)Item แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานีเสาวลักษณ์ ศักดิ์สิทธิ์; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)การศึกษาคร้ังนี้เป็นงานวิจยัเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัญหา ด้านขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานี วิเคราะห์การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานีและเสนอแนะแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานี โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้เสียจากการจัดการมูลฝอยชุมชนของปทุมธานีร่วมกับการสังเกตุการณ์อย่างมีส่วนร่วมและการทบทวนวรรณกรรม และใช้เทคนิคการประเมินแบบ CIPP-I Model เป็นกรอบในการศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานีแล้วตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ด้านข้อมูล (Data Triangulation)จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่คุณภาพ และพิจารณาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของจังหวัดปทุมธานี โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกขององค์กร (SWOT Analysis) และนำ SWOT Matrix มาดำเนินการประเมิน และวิเคราะห์ เพื่อจัดทำเป็นแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมของปทุมธานีต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันจังหวัดปทุมธานีมีนโยบายการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของจังหวัดปทุมธานีสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ และสามารถแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสมภายในจังหวัดได้สำเร็จ แต่ปัจจุบันยังไม่มีสถานที่กำจัดที่ถูกตอ้งตามหลักวิชาการภายในจังหวัด ทำให้ต้องขนส่งไปทิ้งที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากพลงังานขยะที่ตำบลเชียงรากใหญ่นั้น ยังไม่สำเร็จเพราะประชาชนคัดค้านและจากการวิเคราห์ SWOT พบว่า มีจุดแข็ง คือ หน่วยงานภาครัฐตอบรับนโยบายจากส่วนกลาง และหน่วยงานภาครัฐส่วนทอ้งถิ่นมีโครงการจดัการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม จุดอ่อน คือ องค์การปกครองส่วนทอ้งถิ่น (อปท.) มีงบประมาณประจำปีในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแต่ทำได้ช้าเพราะต้องรองบประมาณจากส่วนกลาง จังหวัด ปทุมธานีไม่มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ประชาชนปฏิเสธสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยหากอยในพื้นที่ชุมชนตนเองโครงการของภาครัฐยังเข้าถึงประชาชนไม่ครบถ้วน ด้านโอกาส คือ นโยบายภาครัฐในทุกระดับสอดคล้องกัน บริษัท เอกชนสนใจลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าจากพลงังานขยะ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเดิมในจังหวัดสามารถปรับปรุงและเปิดดำเนินการได้ มีพื้นที่เหมาะสมสำหรับสร้างสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยแห่งใหม่ มีปริมาณขยะมากเพียงพอสำหรับการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะ และประชาชนเข้มแข็ง มีความรู้ความเข้าใจ ต่อรองกับหน่วยงานรัฐได้ส่วนอุปสรรค คือ ประชาชนไม่เชื่อมั่นภาครัฐในการสร้างสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในทุกรูปแบบ และมีประชากรแฝงมาก แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานี (TOWS Matrix) 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์เชิงรุกได้แก่ให้หน่วยงานภาครัฐร่วมมือกับเอกชนในโครงการพัฒนาสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัด กลยุทธ์เชิงป้องกัน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐส่วนท้องถิ่นต้องเข้าถึงประชาชนทั้งในด้านความสัมพันธ์และการให้ข้อมูลข่าวสารกลยุทธ์เชิงแก้ไข ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในปทุมธานี ของบประมาณจากส่วนกลางเพิ่มเพื่อปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะเดิมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนกับประชาชนทุกระดับ กลยุทธ์เชิงรับ ได้แก่กำหนดกฎระเบียบว่าด้วยแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยตั้งงแต่ต้นทางและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง รวมถึงให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานีItem นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอรญา อู่สุวรรณ; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2023)การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์วิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานทรัพยากรชุมชน และนวัตกรรมทางสังคม เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยนวัตกรรมทางสังคมตำบลตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In – Depth Interview) และสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากกลุ่มผู้นำชุมชนแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นต้น จำนวน 20 ท่าน และใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) กับตัวเเทนครัวเรือน จำนวน 261 ครัวเรือน โดยวิธีการสุ่มแบบโควตาไม่เป็นสัดส่วน (Quota sampling) และแบบบังเอิญ (Accidental Selection) วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ SPSS (Statistical Package for the Social Science) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการศึกษาพบว่า ศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและนวัตกรรมทางสังคมของตำบลตลาดใหม่มีประวัติศาสตร์ของบรรพชนทั้งหมด 12 ท่าน และมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการตั้งกลุ่มวิสาหกิจ เช่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจักสานบ้านตลาดใหม่ วิสาหกิจชุมชนคนรักดนตรีไทย อบต .ตลาดใหม่ การแสดงลำตัด กลุ่มขนมไทยบ้านตลาดใหม่ กลุ่มนวดแผนโบราณเพื่อสุขภาพ และกระถางดินเผา เป็นต้น ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้แก่ 1) ปัจจัยภายใน พบว่า มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ และเปิดโอกาสให้หน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาเข้ามาพัฒนา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่เป็นสำคัญ รวมถึงการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และ 2) ปัจจัยภายนอก พบว่า มีนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากภาครัฐเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และมีกฎหมายในการควบคุมมาตรฐานของการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แนวทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยนวัตกรรมทางสังคม ได้แก่ การส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืนโดยนวัตกรรมทางสังคม ผลักดันการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของชุมชนและการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการตลาดดิจิทัลด้านการท่องเที่ยว เพื่อประชาสัมพันธ์ และขายสินค้าและบริการการท่องเที่ยว จัดเส้นทางการท่องเที่ยว One Day Trip และครบวงจร ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยให้นักท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชุมชน และเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในอำเภอ จังหวัด และจังหวัดใกล้เคียงโดยขอความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนItem การค้าปลีกเพื่อความยั่งยืน: โมเดลธุรกิจร้านรีฟีลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลสุลักขณา แสงทรัพย์สิน; ฆริกา คันธา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2023)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะโมเดลธุรกิจร้านรีฟีล (Business Model) ความท้าทายของธุรกิจ (Business Challenge) และเสนอแนวทางเบื้องต้นในการพัฒนาธุรกิจร้านรีฟีลในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) ผู้ประกอบการและผู้จัดการแบรนด์ร้านรีฟีลทั้งหมด 10 ร้าน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีการลงพื้นที่ร้านรีฟีลเพื่อเก็บข้อมูลและสังเกตการณ์ โดยนำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์แบบพรรณนาเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ตามกรอบการศึกษาองค์ประกอบโมเดลธุรกิจที่ปรับปรุงจาก Johnson, Christensen & Kagermann (2008), Osterwalder (2008), Social Innovation lab (2013), Tandemic (2019) และ Kotler (1997) โดยแบ่งลักษณะของโมเดลธุรกิจออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) คุณค่าต่อลูกค้า (Customer Value Proposition) 2) สูตรกำไร (Profit Formula) 3) ทรัพยากรหลัก (Key Resource) และ 4) กระบวนการหลัก (Key Process) ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณค่าต่อลูกค้า (Customer Value Proposition): คุณค่าของร้านรีฟีล (Value of the Shop) ได้แก่ 1) แนวคิดของการค้าปลีกยั่งยืน (Sustainable Retail Concept) 2) การลดขยะ (Waste Reduction) 3) สินค้าคุณภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความยั่งยืนในสังคม (Sustainable Products) และ 4) การเป็นแหล่งเรียนรู้และชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Learning Community) 2. ทรัพยากรหลัก (Key Resource): ทรัพยากรที่ธุรกิจร้านรีฟีลต้องใช้ในการดำเนินกิจการ โดยเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับธุรกิจร้านรีฟีลในการส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้าและสังคม ได้แก่ 1) ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) 2) เงินลงทุน (Investment) 3) สินค้า (Products) 4) อุปกรณ์ (Equipment) 5) พันธมิตร (Partnerships) 6) ทำเลที่ตั้ง (Location) และ 7) พนักงาน (Employees) 3. สูตรกำไร (Profit Formula): การสร้างกำไรของธุรกิจร้านรีฟีลในขณะที่มอบคุณค่าให้แก่ลูกค้า ได้แก่ กำไร (Profit) ต้นทุน (Cost) รวมถึงแนวทางในการตั้งราคาสินค้า (Pricing) 4. กระบวนการหลัก (Key Process): กระบวนการดำเนินงานและการจัดการของธุรกิจร้านรีฟีลที่ช่วยให้ร้านรีฟีลสามารถส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้าและสังคม ได้แก่ 1) การปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Engagement) 2) การตลาดและช่องทางการสื่อสาร (Marketing and Communication Channels) 3) การบริการ (Service) 4) การออกแบบร้าน (Shop Design) 5) การดูแลสินค้า (Storage) 6) การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (Used Packaging Management) และ 7) การสนับสนุนการลดขยะบรรจุภัณฑ์แก่ผู้ผลิต (Supporting Packaging Waste Reduction for Supplier) ความท้าทายทางธุรกิจ (Business Challenge) ที่สำคัญของการทำธุรกิจร้านรีฟีลนั้นอยู่ในส่วนของสูตรกำไร (Profit Formula) กล่าวคือ ธุรกิจการขายสินค้ารีฟีลนั้นให้กำไรสุทธิ (Margin) ที่ต่ำ ส่งผลให้ธุรกิจร้านรีฟีลในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพทางสังคมและการเงินอย่างยั่งยืน แนวทางพัฒนาธุรกิจร้านรีฟีลในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ 1) การทำตู้รีฟีล (Refill Station) เพื่อกระจายสินค้ารีฟีล 2) การนำเสนอสินค้าคุณภาพที่หลากหลาย (Quality and Variety of Products) 3) การให้รางวัลแก่ลูกค้าที่ซื้อสินค้าไร้บรรจุภัณฑ์ (Reward Me) 4) การหาพันธมิตร (Partnerships) คู่ค้าที่สนับสนุนและส่งเสริมแนวคิดการ “รักษ์โลก” ของธุรกิจร้านรีฟีล 5) การทำการตลาดในเชิงรุก: การตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Marketing) และการตลาดชุมชน (Community Marketing) ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า คุณค่าของร้านรีฟีลนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่แนวคิดของร้านที่ส่งเสริมความยั่งยืน กล่าวคือ ธุรกิจร้านรีฟีลไม่เพียงแต่สร้างผลกระทบทางบวกต่อสิ่งแวดล้อม คือ เป็นร้านค้าปลีกที่ตอบโจทย์ของผู้บริโภคในการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ครั้งเดียว และส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำ แต่ยังสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนในแง่ของการกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ด้วยการเป็นหน้าร้านให้กับผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชนที่ผลิตสินค้าธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนเกษตรกรในท้องถิ่นผ่านการรับซื้อวัตถุดิบในราคาที่เป็นธรรม ร้านรีฟีลจึงถือเป็นรูปแบบการค้าปลีกที่ยั่งยืน (Sustainable Retail Concept) ที่สร้างผลกระทบทางบวกต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมItem รูปแบบนวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกอย่างยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ ตำบลตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองภัทรธิดา สามัคคี; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์และการจัดการขยะพลาสติกวิเคราะห์ศักยภาพของการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกอย่างยั่งยืน และความต้องการของนักท่องเที่ยวด้านบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติก และเพื่อเสนอรูปแบบนวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกอย่างยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ ตำบลตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยวิธีการศึกษา ประกอบด้วย การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มผู้บริหาร ผู้นำชุมชน และผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะพลาสติก ในองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดใหม่ รวมทั้งสอบถามนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเดินทางมาท่องเที่ยวที่อุทยานประวัติศาสตร์ตำบลตลาดใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 600 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จากนั้นนำข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ CIPPI Model เป็นกรอบในการเสนอรูปแบบนวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติก ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีการคัดแยกขยะพลาสติกเพื่อนำไปขาย ส่วนขยะพลาสติกที่ไม่สามารถขายได้ประชาชนในพื้นที่จะนำมาทิ้งในถังขยะ เพื่อรอรถเก็บขนขยะที่องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดใหม่มีการจัดจ้าง ศักยภาพด้านแรงงานคนในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกในพื้นที่ตำบลตลาดใหม่ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ด้านงบประมาณ ยังไม่มีงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะพลาสติกที่ต้นทางเพราะตำบลตลาดใหม่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ดังนั้นจึงควรมีการดำเนินการหางบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ด้านวัสดุและอุปกรณ์ โดยวัสดุที่ใช้ คือผักตบชวา เนื่องจากมีปริมาณมาก และส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำในพื้นที่ และยังไม่มีงบประมาณสำหรับการจัดซื้อเครื่องขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ ด้านการบริหารจัดการ มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับวงจรการเกิดและผลกระทบด้านลบจากขยะพลาสติก รวมถึงการผลิตจานผักตบชวา และจากการศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวด้านบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติก พบว่า รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการมีลักษณะเป็นจานก้นลึกมีขนาดความสูง 4 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร ผลิตจากพืชหรือ ใบไม้ โดยใช้ผักตบชวา มีสีดั้งเดิมจากวัสดุธรรมชาติที่ใช้ สามารถใช้ซ้ำได้ 4-5 ครั้ง และความถี่ในการซื้อ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ โดยระดับความคิดเห็นความต้องการ และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ คือ บรรจุภัณฑ์มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และจากการประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยป้อน กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบ ผู้วิจัยจึงเสนอรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกอย่างยั่งยืนจากผักตบชวาสำหรับนำมาใช้ในแหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ตำบลตลาดใหม่ อำเภอเวิศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองItem แนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานครจิรัฏฐ์ จันต๊ะคาด; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์และปัญหาจากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครปัจจุบัน (2) ศึกษาความรู้ความเข้าใจที่ส่งผลต่อความตระหนักและพฤติกรรมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของภาคประชาชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) เสนอแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาเชิงผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บรวบรวม ข้อมูลปฐมภูมิจากการลงพื้นที่ทำแบบสอบถามกับประชากรกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานครจำนวน 480 ราย รวมทั้งการสัมภาษณ์ตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อหาแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้า และข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ STATA ยอมรับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 384,233 ตันในปีพ.ศ 2558 เพิ่มเป็น 435,187 ตันในปีพ.ศ. 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ในระยะ 7 ปีที่ผ่าน และขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่เข้าสู่กระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้อง โดยสามารถจัดการได้เพียงร้อยละ 22 หรือ 147,293.96 ตันของปริมาณที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทำให้ยังมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ตกค้างหรือไม่สามารถจัดการได้หลงเหลืออยู่ ทั้งนี้พฤติกรรมของประชาชนส่วนใหญ่บริโภคสินค้าไปตามกระแสความนิยม และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ประกอบการทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความต่อเนื่อง รวมถึงยังไม่แรงจูงใจทางด้านระบบเศรษฐศาสตร์ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ และข้อจำกัดด้านกฎระเบียบและแนวทางการปฏิบัติเพื่อการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวม นอกจากนี้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจต่อความตระหนักและพฤติกรรมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ในการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยภายในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อเดือนเฉลี่ย 1.31 ชิ้น และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์และหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับสูง (ค่าระดับคะแนน 1.34 – 2.00) จำนวน 409 ราย และ 370 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.2 และร้อยละ 77.1 ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในแหล่งที่อยู่อาศัยได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกจากการบริการของภาครัฐกว่าครึ่งหนึ่งในระดับน้อย (ค่าระดับคะแนน 0.00 – 0.66) จำนวน 283 ราย คิดเป็นร้อยละ 59 ส่วนใหญ่มีความตระหนักในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับสูง (ค่าระดับคะแนน 1.34 – 2.00) จำนวน 339 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.6 รวมทั้งมีพฤติกรรมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในแหล่งที่อยู่อาศัยตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอยู่ในระดับสูง (ค่าระดับคะแนน 1.34 – 2.00) จำนวน 367 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.5 อย่างไรก็ตามการจะบรรลุถึงความยั่งยืนในอนาคตหรือการจะเป็นมหานครสีเขียวในเอเชีย การจัดการปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งผลสู่การบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ โดยต้องอาศัยการสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะผู้บริหารต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน ทั้งด้านนโยบาย มาตรการ รวมทั้งกลยุทธ์ที่ใช้แก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในชุมชนให้แน่ชัด อีกทั้งควรผลักดันและสร้างการรับรู้ต่อหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อการจัดการขยะของบุคลากรทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติงาน เพื่อขับเคลื่อนแนวคิดไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในบุคลากรทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติงานด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีความรู้ความเข้าใจแนวคิดและหลักการดำเนินงานหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ กระบวนการผลิตได้อีก (Make-Use–Return) หากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนให้ความร่วมมือจะส่งผลให้เดินหน้าเข้าสู่การดำเนินเศรษฐกิจในรูปแบบดังกล่าวอย่างสมดุลในทุกด้าน ภายใต้วิสัยทัศน์เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด ลดผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การผลิต การบริโภค การจัดการของเสีย และการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่Item การลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายบนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทยวสวัตติ์ กฤษศิริสวัสดิ์; วิชชุดา สร้างเอี่ยม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำความเข้าใจถึงรูปแบบและวิธีการของการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายในประเทศไทย และพิสูจน์ว่าสื่อสังคมออนไลน์ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญของขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า ซึ่งส่งผลให้ปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าในประเทศไทยยังคงมีความรุนแรงอยู่ โดยได้ทำการศึกษาจากการเก็บข้อมูลโพสต์การลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายที่เกิดขึ้นในกลุ่มการซื้อขายสัตว์เลี้ยงบนเฟซบุ๊ก และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกกับชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดงซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยเชิงเหตุผลที่เพียงพอต่อการนําไปวิเคราะห์และอภิปรายผลการศึกษา จากการติดตามกลุ่มการซื้อขายสัตว์เลี้ยงบนเฟซบุ๊กจำนวน 8 กลุ่ม ในระยะเวลา 1 ปี พบว่า มีการโพสต์ซื้อขายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าทั้งหมด 248 โพสต์ แบ่งเป็นโพสต์ขาย 192 โพสต์ (77.6%) จาก 26 ผู้โพสต์ และโพสต์ซื้อ 56 โพสต์ (22.4%) จาก 54 ผู้โพสต์ ซึ่งมีสัตว์ป่าจำนวนกว่า 270 ตัว จาก 13 ชนิด ถูกนำมาโพสต์ขายในราคา 1,200 - 60,000 บาทต่อตัว ชนิดพันธุ์ที่พบจำนวนโพสต์มากที่สุดคือ นากเล็กเล็บสั้น (Aonyx cinereus) โดยแหล่งที่มาของการโพสต์ขายสัตว์ป่าสูงสุดคือจังหวัดนราธิวาสและยะลา จากผลการศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงบนโลกออนไลน์ ซึ่งอาจยังไม่สามารถยืนยันความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้อย่างแน่ชัด อีกทั้งการศึกษาครั้งนี้ไม่ได้มีการคัดกรองรูปแบบของการโพสต์ที่มีลักษณะเป็นข้อมูลซ้ำออก ดังนั้นผลการศึกษาครั้งนี้จึงอาจเป็นเพียงการประเมินค่าของการเกิดอาชญากรรมลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายบนสื่อสังคมออนไลน์ที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง แม้ว่าในปัจจุบันการเข้ามาของชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดง รวมถึงการปรับบทลงโทษทางกฎหมายที่รุนแรงมากขึ้น อาจเป็นแนวทางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพต่อการแก้ไขปัญหาการก่ออาชญากรรมด้านสัตว์ป่า แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสื่อสังคมออนไลน์ยังคงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสนับสนุนการลักลอบค้าสัตว์ป่า นอกจากนี้กลุ่มผู้ค้าสัตว์ป่ายังคงมีปรับตัวและรูปแบบวิธีการให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่อยู่เสมอ ดังนั้นการทำความเข้าใจถึงรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของวิธีการ แนวโน้ม สถานการณ์ และปัจจัยสำคัญของการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายบนสื่อสังคมออนไลน์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานภาครัฐควรให้ความสนใจ รวมถึงการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างองค์กรด้านสื่อสังคมออนไลน์กับหน่วยงานภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนากลไกทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีต่อการเผชิญหน้ากับปัญหาการก่ออาชญากรรมลักลอบค้าสัตว์ป่าบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบันItem บทบาทมหาวิทยาลัยในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะรอบพื้นที่ : กรณีศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และย่านบางกะปิเตชินท์ ก้อนนิล; ณพงศ์ นพเกตุ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิด และต้นแบบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระดับประเทศไทย และระดับต่างประเทศ ศึกษากระบวนการขับเคลื่อนโครงการของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยในด้านเมืองอัจฉริยะ และเพื่อถอดบทเรียนกระบวนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพื่อปรับใช้กับพื้นที่อื่นๆ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็นข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ คือ 1) ข้อมูลปฐมภูมิ คือการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยเฉพาะสถานการณ์การขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะในระดับประเทศไทย และระดับต่างประเทศ และ 2) ข้อมูลทุติยภูมิ ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะย่านบางกะปิ จากนั้นจึงนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ SWOT Analysis และนำผลที่ได้มาสรุปเป็นพรรณาความ ความร่วมไม้ร่วมมือในการยกระดับย่านคลองจั่นบางกะปิให้เป็นเมืองที่ทันสมัยเกิดจากกลุ่มชนชั้นนำ (technocrat) โดยมีหน่วยงานสำคัญ 3 หน่วยงาน คือ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสาตร์ (นิด้า) กรุงเทพมหานคร และชุมชนเคหะคลองจั่น สังกัดการเคหะแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นศูนย์กลาง แต่ที่สำคัญ คือ ได้รับความสนใจ ร่วมคิดและร่วมลงทุนการพัฒนาออกแบบจากบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม กลุ่มห้างสรรพสินค้า ผู้แทนชุมชนและสมาคมนักศีกษาเก่านิด้า เป็นต้นโดยแรกเริ่มเกิดจากการที่นิด้าได้เข้าร่วมโครงการออกแบบเมืองอัจฉริยะ-รู้รักษ์พลังงานตามโครงการสำคัญของสำนักงานส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานในปี พ.ศ. 2559 และดำเนินโครงการมาแล้วเสร็จ ปี พ.ศ. 2561 ได้เกิดแผนแม่บทเมืองอัจฉริยะนิด้าขึ้นมา จากนั้นจึงมีการประสานงานกับกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเขตบางกะปิในการนำแนวคิดเมืองอัจฉริยะนิด้าขยายผลเพื่อเตรียมพร้อมการเปิดใช้รถไฟฟ้า 2 สาย ซึ่งมีแผนการจะเปิดใช้งานประมาณปี พ.ศ. 2565 – 2566 โดยมีผู้นำทางธุรกิจสำคัญ 2 บริษัท คือ กลุ่มผู้บริหารบริษัทปัญญาคอนซัลแตนท์ที่ร่วมคิด วางแผน สำรวจและดำเนินการออกแบบพัฒนา และกลุ่มผู้บริหารบริษัท NMARK (น้อมจิตต์) ที่เป็นกิจการที่มีความผูกพันธ์กับพื้นที่มานาน เป็นผู้นำของภาคเอกชนในพื้นที่ในการเป็นแกนกลางการประสานงานระหว่างภาคเอกชนในพื้นที่และหน่วยงานภาครัฐรวมถึงสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ข้อเสนอแนะ และแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทยโดยมีสถาบันการศึกษาเป็นผู้ขับเคลื่อน พบว่ามี 4 แนวทาง คือ 1) การสร้างผู้นำจุดประกายการพัฒนาเมือง 2) การสำรวจความพร้อมของทรัพยากรของเมืองและการหาแนวร่วมความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ 3) การสร้างองค์ความรู้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเมืองทุกภาคส่วน และ 4) การสร้างกลไกการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมในพื้นที่Item ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านป่าสักงาม อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่พาณิภัค สุขพรหม; จินตนา อมรสงวนสิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009)การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ส่งผลต่อความ หลากหลายทางชีวภาพและการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการความหลากหลายทาง ชีวภาพของชุมชนบ้านป่าสักงาม รวมถึงศึกษาลักษณะ ระดับ และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม ของชุมชนในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนบ้านป่าสักงาม อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยรวบรวมข้อมูล จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ประกอบกับการการสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้าง จากประชาชนชุมชนบ้านป่าสักงาม จำนวน 100 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-Square Test) ผลการศึกษาพบว่า ผลจากการมีปฏิสัมพันธ์ติดต่อกับภายนอกชุมชน ประกอบกับ นโยบายการจัดการป่าไม้ของภาครัฐ และกระแสการพัฒนาตามระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขึ้นภายในชุมชนบ้านป่าสักงาม แยกพิจารณาตาม ช่วงเวลาได้ เป็น 3 ยุค คือ 1) ยุคการตั้งถิ่นฐาน เป็นช่วงเวลาการตั้งถิ่นฐานของชุมชน สภาพทั่วไป ของชุมชนยังคงเป็นสังคมเกษตรกรรม มีการนำภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวลัวะมาใช้ในการจัดการ ความหลากหลายทางชีวภาพ 2) ยุควิกฤตทรัพยากร เป็นช่วงเวลาที่มีการทำสัมปทานป่าไม้ และ การทำไม้นอกระบบภายในชุมชน ชุมชนได้เรียนรู้วิธีการทำไม้จากกลุ่มคนภายนอกที่เข้ามาใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ของชุมชน จึงทำให้ชุมชนละทิ้งภูมิปัญญาดั้งเดิมและหันเข้าสู่การทำ ไม้นอกระบบอย่างเต็มตัว ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้กลายเป็นสินค้าหลักของชุมชน มีการใช้ทรัพยากรอย่างเกินขอบเขตจนเกิดความ เสื่อมโทรม และ กระทบต่อเคน และ 3) การเรียนรู้และปรับตัว เป็นช่วงเวลาที่ ชุมชนได้เรียนรู้วิธีการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จากการส่งเสริมของ หน่วยงานภาครัฐ และได้นำความรู้มาผสมสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนเพื่อใช้ในการ อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางภาพในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารซึ่ง เป็นที่ตั้งของชุมชน จนทรัพยากรป่าไม้ที่เคยเลี่ยมโหจนกลับคืนความสมบูรณ์ ในด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความหลากหลายทาง ภาพ ประชาชน ส่วนใหญ่ยังคงมีส่วนร่วมในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนน้อย อีกทั้งมีความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในระดับ ต่ำ เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการจัดการความหลากหลาย ทางชีวภาพอังกายในชุมชนยังไม่ทั่วถึง อีกทั้งประชาชนมีความคาดหวังต่อบทบาทของผู้นำชุมชน และบทบาทของนักพัฒนาในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในระดับสูง เนื่องจากผู้นำ ชุมชนและนักพัฒนามีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทาง และกิจกรรมการจัดการความ หลากหลายทางการของชุมชน และจากการทดสอบสมมติฐานพบว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และความคาดหวังต่อบทบาทนักพัฒนาในการ จัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประชาชน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของชุมชนใน การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้คือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรจัดให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิ ปัญญาดั้งเดิมของชุมชน และจัดให้มีกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น ควบคู่กับการ ส่งเสริมความรู้ด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารให้กับชุมชน อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งและสร้างความยั่งยืนในการจัดการความหลากหลาย ทางชีวภาพของชุมชนItem การประเมินผลระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย กรณีศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทองเขมณัฏฐ์ รัตนนิกรเจริญ; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อประเมินผลระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ รวมท้ังนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงระบบการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) ที่ได้ประยุกต์ใช้ตัวแบบการประเมินผล CIPP Model มาเป็นกรอบ แนวคิดในการศึกษาและโดยปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับการประเมินผลระบบการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยมีองค์ประกอบที่นำมาพิจารณา 5 องค์ประกอบหลัก คือ บริบทโครงการ ปัจจัยในการเข้ากระบวนการผลผลิต และผลกระทบโดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ เชิงลึก (In-depth Interviews) ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participatory Observation) กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ควบคู่กับการวิจัยเอกสาร (Documentary Research)ผลการศึกษาโดยสรุป พบว่าด้านบริบทโครงการการจัดทำ EIA ในประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัยสามารถปฏิบัติได้จริง และควรให้ความสำคัญกับจรรยาบรรณของผู้จัดทำ EIA รวมทั้งความต้องการและความกังวลใจของสมาชิกใน ชุมชน และศักยภาพในการรองรับการพัฒนาของพื้นที่ด้านปัจจัยนำเข้าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ จัดทำ EIA มีความรู้ความเข้าใจในขั้น ตอนและวิธีการจัดทำ EIA ยกเว้นสมาชิกในชุมชนที่ยังขาด ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้านกระบวนการควรมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ครบถ้วน และ เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางตลอดจนควรให้ ความสำคัญกับการนำความคิดเห็นของประชาชนไปสู่การปฏิบัติด้านผลผลิต หน่วยงานเจ้าของโครงการและบริษัทที่ปรึกษาได้ดำเนินการจัดทำรายงาน EIA ตามที่ระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง กำหนด และดำเนินการโดยนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาภายใต้การกำกับดูแลของ ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังมีข้อจำกัดการเข้าถึงรายงาน EIA ฉบับสมบูรณ์ ด้านผลกระทบ สมาชิกในชุมชนบางส่วนเกิดความไม่มั่นใจต่อความเป็นอิสระด้านวิชาการของบริษัทที่ปรึกษาในการ จัดทำ EIA แต่มีความมั่นใจในประสบการณ์และความเป็นมืออาชีพของบริษัท ที่ปรึกษารวมทั้งมี ความเห็นว่าการสร้างการมีส่วนร่วมและการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ประชาชนมีความ มั่นใจต่อโครงการและอาจช่วยลดความขัดแย้งและทำให้โครงการกับสมาชิกในชุมชนสามารถอยู่ ร่วมกันอย่างยั่งยืนได้นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่าการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ ขณะที่การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและขาดความสนใจที่จะแสวงหาความรู้ เกี่ยวกับผลกระทบของโครงการและการที่หน่วยงานเจ้าของโครงการมักต้องการจะเก็บอำนาจการ ตัดสินใจในประเด็นสำคัญ ๆ เอาไว้เองแทนการกระจายอำนาจให้กับชุมชนอาจเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญในกระบวนการจัดทำ EIA ของโครงการ ส่วนข้อเสนอแนะสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย ภาครัฐควรปรับปรุงขอ้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำ EIA และควรให้ความสำคัญ อย่างสูงกับการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยมีการกำกับดูแลทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ หน่วยงานที่รับผิดชอบ โครงการพัฒนาและบริษัทที่ปรึกษาควรยกระดับความสำคัญ ของการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของ กระบวนการจัดทำ EIA และควรให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณด้านการมีส่วนร่วมของ ประชาชนให้มากขึ้นให้สอดคล้องกับ จำนวนพื้นที่หรือสมาชิกในชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ และ สมาชิกในชุมชน ควรมีการเตรียมความพร้อมอย่างเพียงพอในการเข้าร่วมกระบวนการมีส่วนร่วม กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาและควรกำหนดให้มีหน่วยงานที่เป็นกลางทำหน้าที่ในการจัดจ้างที่ปรึกษาในการจัดทำ EIAItem การเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนกิจกรรมอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยการประยุกต์ใช้แนวทางการประมูลย้อนกลับ กรณีศึกษา ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายสุเทพ จันทร์อำพร; สมพจน์ กรรณนุช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)การศึกษานี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนกิจกรรมอนุรักษ์ดินและน้ำโดยการประยุกต์ใช้แนวทางการประมูลย้อนกลับในการคัดเลือกเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ อนุรักษ์โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรที่มีพื้นที่ทำ การเกษตรในตำบลแม่สลองนอกซึ่งเป็นเกษตรกรที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 23 ราย โดยการทำการวิจัยกึ่งทดลองให้เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการประมูลย้อนกลับ เพื่อเสนอราคาที่เต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ดินและน้ำ ผลการศึกษาพบว่า ประการแรกจากการเปรียบระดับรายได้และระดับราคาที่กลุ่มตัวอย่างเสนอระหว่างการประมูลย้อนกลับโดยใช้เครื่องมือทางสถิต One Sample T-Test ในการเปรียบเทียบพบว่าเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีความเต็มใจที่จะเข้าร่วมโครงการเมื่อ ค่าตอบแทนที่ได้รับจากโครงการสูงกว่าระดับรายได้หรือ ต้นทุนค่าเสียโอกาสของตนเองในการทำการเกษตรอย่างมีนัยยะสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ประการที่สองเมื่อนำข้อมูลระดับ ราคาการจ่ายแบบตายตัวและจากวิธีประมูลย้อนกลับมาคูณด้วยจำนวนพื้นที่ทำการเกษตรของ เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่ชนะการประมูล ทั้ง 16 คน จะได้ต้นทุนแรงงานของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง แต่ละรายที่คำนวณจากทั้งสองวิธีการ ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างระดับราคาการจ่ายค่าตอบแทน แบบตายตัวและระดับราคาจากการประมูลย้อนกลับพบว่าการจ่ายค่าตอบแทนในระดับราคาจากการประมูลย้อนกลับมีต้นทุน (ต้นทุนแรงงาน) ใช้งบประมาณเพื่อจ่ายเป็นค่าแรงเพียง 291,900 บาท ในขณะการจ่ายแบบค่าตอบแทนตายตัวใช้งบประมาณถึง 489,280 บาท ทำให้ใช้งบประมาณ ต่ำกว่าการจ่ายค่าตอบแทนแบบตายตัวถึง 197,380 บาทItem การใช้แพลงก์ตอนสัตว์เป็นตัวชี้วัดการไหลเวียนของมวลน้ำในพื้นที่ป่าชายเลน ศูนย์ศึกษาการเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ตำบลปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทัชชา พรรณรักษ์; ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)การศึกษาแพลงก์ตอนสัตว์เพื่อใช้เป็นดัชนีชี้วัดการไหลเวียนของมวลน้ำในศูนย์ศึกษา เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในช่วงเดือน กันยายน พ.ศ. 2559 และเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นช่วงก่อนและหลังการขุดลอกร่องน้ำเพื่อ แก้ไขปัญหาการแลกเปลี่ยนของมวลน้ำในป่าชายเลนกับแม่น้ำปราณบุรีที่ได้ดำเนินการในช่วงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยใช้ถุงลากแพลงก์ตอนขนาดตา 100 และ 330 ไมโครเมตร เพื่อศึกษาให้ ครอบคลุมทั้งกลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทำการลากในแนวระดับในสถานี ศึกษาทั้งสิ้น 5 สถานี คือ ด้านในของป่าชายเลน (สถานี A และ B)คลองย่อยที่มีทางน้ำเข้าสู่พื้นที่ป่าชายเลน (สถานี C และ D) และบริเวณปากคลองย่อยที่เชื่อมกับแม่น้ำปราณบุรี(สถานีE) ผลการศึกษาพบว่าปัจจยัสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความเค็ม และความเป็นกรด-เบสของน้ำทะเล ระหว่างช่วงก่อนและหลังการขุดลอกร่องน้ำมีความแตกต่างกัน (p< 0.05) และพบว่าความเค็มและปริมาณออกซิเจนละลายระหว่างสถานีมีความแตกต่างกัน (p< 0.05) ส่วนปริมาณแพลงก์ตอนสัตว์ ไม่มีความแตกต่างกันทั้งระหว่างช่วงเวลาและระหว่างสถานีอย่างไรก็ตาม ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์ในช่วงหลงัการขุดลอกร่องน้ำมีค่าสูงกว่าช่วงก่อนการขุดลอกร่องน้ำเล็กน้อย ความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์พบท้งัสิ้น 43กลุ่ม โดยกลุ่มหลักที่พบคือโคพีพอดทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่คาลานอยด์โคพีพอด ไซโคลพอยด์โคพีพอด และฮาร์แพคทิคอยด์โคพีพอด รวมทั้งตัวอ่อน ระยะนอเพลียสของโคพีพอด นอกจากนี้ยังพบว่าแพลงก์ตอนสัตวก์ลุ่มที่ชอบอาศัยอยู่ในทะเลเช่น กลุ่มไฮโดรเมดูซีและกลุ่มหนอนธนูมีปริมาณเพิ่มขึ้นในบริเวณด้านในของป่าชายเลนในช่วงหลังการขุดลอกร่องน้ำ ซึ่งสะท้อนถึงการไหลเวียนของน้ำจากด้านนอกเข้าสู่พื้นที่ป่าได้ดีขึ้น อีกทั้งยังพบแพลงก์ตอนสัตวก์ลุ่มลูกสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ลูกกุ้ง ลูกปู ลูกหอย และลูกปลา ในบริเวณศึกษา บ่งบอกถึงความสำคัญ ของป่าชายเลนในการเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนItem การส่งเสริมความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาวพรกมล เหล่าสิ้นฟ้า; วิชชุดา สร้างเอี่ยม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ของชุมชนคลองแสนแสบ และส่งเสริมความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาว งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการวัดความรู้ และพฤติกรรมของ ประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งก่อนและหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียเบื้องต้น ภายในชุมชนเป้าหมายทั้งหมด 6 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านเกาะ ชุมชนหมู่ 3 ร่วมใจพัฒนา ชุมชน เปรมฤทัย 1ชุมชนหมู่บ้าน บก. ทหารสูงสุด ชุมชนรามอินทรา 83-85 และชุมชนรามอินทรา 89-91 ผลการวิจัย พบว่า โดยรวมประชาชนในชุมชนมีความรู้ในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนทั้ง ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนเบื้องต้นในระดับสูง เมื่อ นำมาทดสอบทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนในชุมชนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมให้ ความรู้มีความรู้แตกต่างกัน และเมื่อนำข้อมูลของประชาชนในชุมชนก่อนการจัดกิจกรรมให้ความรู้ มาทดสอบทางสถิติ ที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนในชุมชนที่มีเพศ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ใน ชุมชน และลักษณะการใช้น้ำที่แตกต่างกันจะมีความรู้ ในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนเบื้องต้น แตกต่างกัน และเมื่อนำข้อมูลของประชาชนในชุมชนหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้มาทดสอบทาง สถิติ ที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนในชุมชนที่มีอายุ ลักษณะการใช้น้ำและอาชีพหลัก ที่แตกต่างกันจะมีความรู้ในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนเบื้องต้นแตกต่างกันนอกจากนี้ประชาชนในชุมชนทั้งก่อนและหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้มีพฤติกรรมใน การจัดการน้ำเสียในครัวเรือนในระดับปานกลาง เมื่อนำพฤติกรรมของประชาชนก่อน-หลังการจัด กิจกรรมให้ความรู้ มาทดสอบทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนก่อนและหลังการจัด กิจกรรมให้ความรู้มีพฤติกรรมการป้องกันน้ำเสียในครัวเรือนไม่แตกต่างกัน และเมื่อนำข้อมูลของ ประชาชนในชุมชนก่อนการจัดกิจกรรมให้ความรู้มาทดสอบทางสถิติ ที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนในชุมชนที่มีอายุ การรับรู้ ข้อมูลข่าวสาร และการเคยร่วมอนุรักษ์ที่แตกต่างกันจะมี พฤติกรรมการป้องกันน้ำเสียในครัวเรือนแตกต่างกัน และเมื่อนำข้อมูลพฤติกรรมของประชาชนใน ชุมชนหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้มาทดสอบทางสถิติ ที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนใน ชุมชนที่มีอายุ อาชีพหลัก สถานภาพในชุมชน ลักษณะการใช้น้ำและการเคยร่วมอนุรักษ์ที่แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการป้องกันน้ำเสียในครัวเรือนแตกต่างกัน ดังนั้น การส่งเสริมความรู้ เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาว ควรเริ่มที่ผู้นำชุมชนก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อเกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการจัดการน้ำเสียภายในครัวเรือนเพิ่มต่อไป และควรมี การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชาชนในชุมชนต้องการติดตาม ดูแลและตรวจสอบ คุณภาพน้ำให้สม่ำเสมอ ความต่อเนื่องของกิจกรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีส่วน ร่วมในการจัดการน้ำเสียของครัวเรือนItem ผลของการไถพรวนที่มีต่อปริมาณคาร์บอนที่เก็บสะสมในดินและผลผลิตข้าวโพด กรณีศึกษาพื้นที่เกษตรกรรม จังหวัดลพบุรีสุนิสา จันสารี; ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)การศึกษาผลของการไถพรวนที่มีต่อปริมาณคาร์บอนที่เก็บสะสมในดินและผลผลิต ข้าวโพด ในพื้นที่ที่มีการทำเกษตรกรรม จังหวัดลพบุรีวางแผนการทดลองแบบ 2 x 4 Factorial Arrangement in CRD ที่ระดับความลึก 0 – 15.0 และ 15.0 – 30.0 ซม. โดยใช้รูปแบบการไถพรวนที่ แตกต่างกัน 4 รูปแบบ คือ 1) การไม่ไถพรวนดิน (T1 ) 2) การไถแปรคร้ังเดียว (ไถพลิกดินด้วยผาลสามแล้วพรวนดินผาลเจ็ด; T2 ) 3) การพรวนซ้ำ 1 คร้ัง (ไถพลิกดินดว้ยผาลสามแล้วพรวนดินผาลเจ็ดแล้วใช้กำลังคนพรวนซ้ำหนึ่งคร้ัง; T3 ) 4) การพรวนซ้ำ 2 คร้ัง (ไถพลิกดินด้วยผาลสามแล้ว พรวนดินผาลเจ็ด แล้วใช้กำลังคนพรวนซ้ำ สองคร้ัง; T4 ) ผลการศึกษา พบว่า ค่าความหนาแน่นรวมและปริมาณคาร์บอนสะสมในดินภายใต้ รูปแบบไม่มีการไถพรวนที่ระดับความลึก15.0 – 30.0 ซม. มีค่าสูงสุด เท่ากับ 1.09 กรัมต่อลูกบาศก์ เซนติเมตรและ 3.86 ตัน /ไร่ ตามลำดับส่วนอินทรียวัตถุและปริมาณอินทรียค์าร์บอนในดินภายใต้ รูปแบบไม่มีการไถพรวนที่ระดับความลึก 0 – 15.0 ซม. มีค่าสูงสุดเท่ากับร้อยละ 1.48 และร้อยละ 0.860 ตามลำดับ สำหรับผลการศึกษารูปแบบการไถพรวนที่มีต่อพืช พบว่า มวลชีวภาพและ ปริมาณคาร์บอนในพืชภายใต้รุปแบบการไถแปรคร้ังเดียว(T2 ) มีค่าสูงสุดเท่ากับ ร้อยละ 29.2 และ 0.530 ตัน /ไร่ ตามลำดับ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างความลึกของชั้นดินและรูปแบบ การไถพรวนส่งผลต่อมวลชีวภาพของพืชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)โดยรูปแบบการไถ แปรคร้ังเดียวเป็นวิธีการที่ดีที่สุดItem ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า เขตประเวศ กรุงเทพมหานครนภาภรณ์ แสงสุวอ; วรางคณา ศรนิล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมความปลอดภัย ในการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า และ 3) เสนอแนะแนวทาง การส่งเสริมสุขภาพและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ร้านรับซื้อของเก่า ในพื้นที่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร จำนวน 31 แห่ง และคนงานจำนวน 125 คน ที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติตามที่กำหนด โดยใช้แบบสอบถามกึ่ง สัมภาษณ์และแบบตรวจประเมินร้านรับซื้อของเก่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test (Independent Samples) และF-test (One-Way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ0.05 ผลการศึกษา พบว่า คนงานในร้านรับซื้อของเก่าเกินกว่ากึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย (ร้อยละ 59.80) โดยคนงานแต่ละคนสามารถทำงานได้หลายหน้าที่ ร้อยละ 90.40 ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง คนงานสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพด้านกายภาพมากที่สุด โดยสัมผัสฝุ่นละออง ร้อยละ 67.20 ทำงาน ในบริเวณที่มีความร้อนและแสงแดด ร้อยละ 36.00 ท างานในบริเวณที่มีเสียงดังจากเครื่องจักร ร้อยละ 12.00 สัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพด้านเคมี ร้อยละ 19.20และสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพด้าน ชีวภาพ ร้อยละ 20.80 จากการสัมภาษณ์ปัญหาสุขภาพ พบว่า คนงานมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ ร้อยละ 65.60 มีอาการทางผิวหนังร้อยละ 53.60 มีอาการทางสายตาและการมองเห็น ร้อยละ 40.80 มีอาการทางการได้ยินร้อยละ 40.00 และมีอาการทางระบบทางเดินหายใจร้อยละ 36.80 ส่วน พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ผลการปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของ คนงานในร้านรับซื้อของเก่า พบว่า คนงานที่มีเพศแตกต่างกัน มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการ ทำงานในภาพรวมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลจากการศึกษา พบว่า คนงานยังไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ เหมาะสมกับลักษณะงาน ขาดความรู้ ความเข้าใจในด้านการปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยใน การทำงาน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการทางด้านสุขภาพยังมีน้อย และจากการสำรวจการ จัดการสิ่งแวดล้อมภายในร้านรับซื้อของเก่า พบว่า ร้านรับซื้อของเก่าไม่ได้จัดให้มีที่อาบน้ำชำระ ร่างกายเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินในบริเวณพื้นที่สถานประกอบการ โดยมีร้านรับซื้อของเก่าที่ผ่าน เกณฑ์การตรวจประเมินดังกล่าวเพียงร้อยละ 6.50เท่านั้น หากเกิดเหตุฉุกเฉินในสถานประกอบการ อาจทำให้เกิดอันตรายและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนงานได้ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานกับอาการ เจ็บป่วย 5 กลุ่มอาการ ด้วยวิธี Odds Ratio (OR) พบว่า คนงานที่สัมผัสปัจจัยเสี่ยงในเรื่องแสงสว่าง ความร้อนในขั้นตอนการคัดแยกกระดาษ เสียงดังในขั้นตอนการบดพลาสติกและอัดกระดาษ และมี ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมในขั้นตอนการนำของเก่าบรรจุภาชนะ มีโอกาสเจ็บป่วยหรือมี อาการทางผิวหนัง อาการทางการได้ยิน และอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อมากกว่า คนงานที่ไม่ได้สัมผัสปัจจัยเสี่ยง แนวทางการส่งเสริมสุขภาพและพฤติกรรมความปลอดภัยในการ ทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า คือการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านรับซื้อของเก่า ให้ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อองค์กร ชุมชน และสิ่งแวดล้อม การอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่คนงานถึงวิธีการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย จัดทำคู่มือหรือแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมใน การทำงานให้แก่คนงาน รวมถึงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับความ ร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เจ้าของสถานประกอบการและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่คุกคาม สุขภาพจากการทำงานและส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานที่ปลอดภัยItem การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์: ทางเลือกในการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายเฉลิมวุฒิ อุตโน; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)การวิจัยนี้ศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และกำหนดทางเลือกในการพัฒนาและประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากทางเลือกในการพัฒนาดังกล่าว เพื่อเสนอทางเลือกในการพัฒ นาที่จะส่งผลด้านลบน้อยที่สุด แต่มีผลด้านบวกมากที่สุดต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการป้องกันและบรรเทาผล ด้านลบจากทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ 3 ทางเลือก ได้แก่1) ไม่มีการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาเขต เศรษฐกิจพิเศษมาใช้ 2) มีการนํายุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบางยุทธศาสตร์มาใช้ 3) มีการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมดมาใช้โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทัศนภาพ เชิงพรรณนาจากข้อมูลเอกสารร่วมกับการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า ทางเลือกที่3 เป็นทางเลือกที่มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมากกว่า เนื่องจากเกิดผลดีต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เช่น เกิดอาชีพใหม่ๆ เกิดการจ้างงาน และสร้างรายได้ แต่ทางเลือกดังกล่าวอาจส่งผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมหลายประการ มาตรการป้องกันและ บรรเทาผลที่เกิดขึ้นจากทางเลือกนี้อาทิประชาสัมพันธ์ข้อมูลแก่ประชาชนให้ทั่วถึงและชัดเจน โดยนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านทั้งผลดีผลเสียในระยะส้ันและระยะยาวและสร้างแผนบริหาร จัดการสิ่งแวดล้อมในภาพรวมทั้งอำเภอItem การประเมินประสิทธิผลศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)รุจิรา ทนงกิจ; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน ของส่วนพลังงานชุมชน ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ 2) ศึกษาปัจจัย ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานและผลสำเร็จศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน ของส่วนพลังงานชุมชน ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยใช้กรอบแนวการศึกษา ตามรูปแบบ CIPP Model กับรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนทั้ง 4 ภูมิภาค จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สถิติอนุมาน และพรรณาความ ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation) พบว่า ปัจจัยภายนอก (Context) ปัจจัยนำเข้า (Input) และกระบวนการ (Process) มี ความสัมพันธ์กับประสิทธิผล (Effectiveness) ในระดับสูง ที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนโดยสมการถดถอย (Regression) พบว่า ปัจจัยภายนอก (Context) ปัจจัยนำเข้า (Input) และกระบวนการ (Process) ส่งผลต่อประสิทธิผล (Effectiveness) ในระดับสูง (R = 0.672) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ การพยากรณ์ เท่ากับ 0.451 (ร้อยละ 45.10) ที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยมีความคาดเคลื่อนของการพยากรณ์เท่ากับ ± 0.380 มีค่าคงที่เท่ากับ 1.354 และจะได้สมการพยากรณ์ประสิทธิผล ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ที่สามารถนำไปพยากรณ์ปัจจัยสนับสนุน การดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนได้ โดยมีสมการดังนี้ Effectiveness = 0.382 Context + 0.169 Input + 0.166 Process ข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำเนินงานศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้นและ ยั่งยืน ดังนี้ ด้านปัจจัยภายนอก (Context) ได้แก่ มีนโยบายด้านพลังงานทดแทนที่สอดคล้องกับ ฐานทรัพยากรชุมชน มีพื้นที่ให้แลกเปลี่ยนความรู้ และมีการเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณะ อย่างต่อเนื่อง ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ สร้างความเชื่อมั่น การรับรู้การตระหนักรู้และ ความชำนาญทางด้านเทคโนโลยีพลังงานชุมชนแก่ชุมชน และ ด้านกระบวนการ (Process) ได้แก่ ควรพิจารณาแผนการทำงานของชุมชนเป็นหลักในการสนับสนุน และมีการบูรณาการใน การทำงานร่วมกันItem แนวทางการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นศูนย์เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาโรงงานผลิตเมทิลเอสเทอร์ และแฟตตี้แอลกอฮอล์อิทธิศักดิ์ จิราภรณ์วารี; ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)การศึกษานี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นศูนย์เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรคของการคำเนินการโดยประยุกต์ใช้หลัก CIPP - I Model ในการศึกษาตามวัตถุประสงค์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงการสังเกตการณ์ และการศึกษาเอกสาร ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็น และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลตามเทคนิคสามเส้า ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยนำเข้าที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความสำเร็จ คือ ความมุ่งมั่นของผู้บริหาร อีกทั้งการส่งเสริมโครงการหรือกิจกรรม การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน เป็นปัจจัยสนับสนุนที่นำมาชื่งการบริหารจัดการกากของเสียอุดสาหกรรมให้เป็นศูนย์เพื่อเข้าสู่อุดสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยแนวทางดังกล่าวนั้นมีส่วนช่วยในการลดปัญหาความขัดแช้งในพื้นที่ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรที่ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรมลดลงต่อเนื่องในทุก ๆ ปี และมีการลดการนำกากของเสียอุตสาหกรรมไปฝังกลบจนเป็นศูนย์จำนวน 6 ชนิด และลดลงเป็นศูนย์จำนวน 1 ชนิด ซึ่งแนวทางในการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จในการยกระดับเป็น Eco - world Clas ในมิติสิ่งแวดล้อม: กากของเสียอุตสาหกรรมนั้นมี 4 ขั้นตอนคือ 1)การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม ทิศทางในการบริหารจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน 2) การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ รวมถึงนโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด 3) การบันทึกผลเพื่อ ทำฐานข้อมูลรวมถึงประวัติกากของเสียอุตสาหกรรม และ 4) การลดปริมาณการเกิดกากของเสียอุตสาหกรรมจนเป็นศูนย์อย่างต่อเนื่องItem การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายดวงรัชนี เต็งสกุล; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมิบผลกระทบของแผบยุทธศาสตร์การพัฒณา เขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราช โดยใช้หลักการประเมินสิ่งแวคล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) ประกอบการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเสนอแนวทางป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบที่คาคว่จะเกิดขึ้น โดยการเปรียบเทียบทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์จาก 3 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 ไม่นำยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษไปดำเนินการในพื้นที่ ทางเลือกที่ 2 นำยุทธศาสตร์ที่เสนอตามแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 3 ยุทธศาสตร์มาดำเนินการ และทางเลือกที่ 3 นำยุทธศาสตร์ที่เสนอตามแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมาคำเนินการทั้งหมด วิธีการศึกษาที่ใช้ ได้แก่ 1) ประเมินลำดับความสำคัญของประเด็นและตัวชี้วัดโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคการตัดสินใจตามกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process: AHP) 2) การสัมภายณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3) การสังเกตการณ์สภาพพื้นที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาประกอบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์จากทั้ง 3 ทางเลือก ผลการวิจัข พบว่า ผลรวมระดับผลกระทบ จากทางเลือกที่มีค่าเป็นลบเท่ากับ -0.72 ส่วนทางเลือกที่ 2 มีค่าเป็นบวกเท่ากับ 0.02 และทางเลือกที่3 มีค่าเป็นบวกเท่ากับ 1.06 นั่นคือ การดำเนินการตามทางเลือกที่ 3 หรือดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของพื้นที่อำเภอเชียงแสนทั้งหมด (ร ยุทธศาสตร์ 1I กลยุทธ์ รวม 33 โครงการ) จะส่งผลดีต่อพื้นที่อำเภอเชียงแสนมากกว่าทางเลือกที่ 1 และ ทางเลือกที่ 2 เนื่องจากทางเลือกที่ 3 จะสร้างโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ถึงแม้จะมีผลกระทบเชิงลบบางประเด็นในช่วงเริ่มต้นการพัฒนา โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคาดการณ์ว่าการพัฒนาดังกล่าวจะส่งผลค้านบวกต่อค้านอาชีพและคุณภาพชีวิตคุณภาพชีวิตของประชาชนมากที่สุดและส่งผลด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิสภาพอากาศและคุณภาพอากาศมากที่สุด สำหรับแนวทางในการปรับตัวเพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอเชียงแสน คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบเชิงลบพร้อมทั้งส่งเสริมผลกระทบเชิงบวกที่อาจจะเกิดขึ้น โดยการสร้างจุดเด่นของชุมชนและควรเน้นกระบานการมีส่วนร่วมของประชาชนประชาสัมพันธ์และเผขแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาเพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ได้รับทราบและมีความเข้าใจต่อการพัฒนามากขึ้น