GSL: Dissertations

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 67
  • Thumbnail Image
    Item
    การคุ้มครองสิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ต: ศึกษากรณีเสิร์ชเอนจิน
    ภารดี ปลื้มโกศล; อัญธิกา ณ พิบูลย์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎี ความเป็นมาของการคุ้มครอง สิทธิความเป็นส่วนตัว การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ประโยชน์สาธารณะและสิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ตกรณีเสิร์ชเอนจิน 2) ศึกษาหลักเกณฑ์ ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ตกรณีเสิร์ชเอนจินในกฎหมาย ต่างประเทศและกฎหมายไทย 3) ศึกษาแนวปฏิบัติ ปัญหาและผลกระทบในการคุ้มมครองข้อมูลส่วน บุคคลและสิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ตกรณีเสิร์ชเอนจินในต่างประเทศ 4) ศึกษาปัญหา เกี่ยวกับการใช้สิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ตกรณีเสิร์ชเอนจินในบริบทของประเทศไทย 5) ศึกษาและเสนอแนวทางในการคุ้มครองสิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ตในกรณีเสิร์ชเอนจินที่ เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป ซึ่งวิธีวิจัยในเรื่องนี้เป็นการใช้แนวทางการศึกษาด้วยวิธีการวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิในการถูกลืมในกรณีของเสิร์ชเอนจิน การคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล สิทธิความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ประโยชน์สาธารณะ และ เสิร์ชเอนจิน จากหนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาของศาล แนวปฏิบัติเกี่ยวกับเกณฑ์ในการ ใช้สิทธิในการถูกลืมในกรณีของเสิร์ชเอนจินของระหว่างประเทศ และของไทย เอกสารจากฐานข้อมูล ออนไลน์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ผลการวิจัยพบว่า สิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ต กรณีเสิร์ชเอนจินได้มีการบัญญัติคุ้มครองไว้ในมาตรา 33 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วน บุคคล พ.ศ. 2562 แต่อย่างใดก็ตามยังคงมีปัญหาบางประการ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นปัญหาในเรื่อง ขอบเขตในการบังคับใช้สิทธิในการถูกลืมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ยัง ไม่มีรายละเอียดหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้อง ข้อยกเว้นและขั้นตอนการใช้สิทธิในการถูกลืมที่มีความชัดเจน และองค์ประกอบของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้ ดังนั้นจึงสมควรแก้ไขปัญหาโดยมีการพัฒนาระบอบการคุ้มครองข้อมูลระหว่างประเทศโดยจะเป็น ความร่วมมือกันในลักษณะสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลระหว่าง ประเทศ และจำเป็นต้องมีการกำหนดแนวทางในการใช้สิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ตในกรณี เสิร์ชเอนจินในลักษณะกฎหมายลำดับรองเป็นประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม มาตรา 33 โดยกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้สิทธิในการถูกลืมและ ข้อยกเว้นการใช้สิทธิในการถูกลืมนและขั้นตอนในการใช้สิทธิในการถูกลืม กรณีเสิร์ชเอนจินเป็นผู้ ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม รวมถึงมีการแก้ไขกฎหมายลำดับรองกำหนดรายละเอียด องค์ประกอบคุณสมบัติของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสมในประเทศไทยต่อไป
  • Thumbnail Image
    Item
    การพัฒนากฎหมายว่าด้วยการจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในประเทศไทย
    อนัณญา นุมาศ; ประพิน นุชเอี่ยม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ มุ่งศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายว่าด้วยเรื่องการจัดการนิติ บุคคลหมู่บ้านจัดสรรในประเทศไทย เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในประเทศไทย เนื่องจากพระราชบัญญัติ การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน พบว่ามีปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้อง กับสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความ สะดวกไม่ได้รับการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีปัญหาสิ่งอำนวยความสะดวก การรักษาความ ปลอดภัยให้แก่สมาชิก ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง ตลอดจน ปัญหาข้อพิพาทในสังคมหมู่บ้านจัดสรรที่ส่งผลต่อปัญหาการจัดเก็บค่าใช้จ่ายที่กระทบถึงการ บำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่สมาชิกใช้ร่วมกัน นอกจากนี้ยังพบว่ามีปัญหาในเรื่องการบังคับใช้ กฎหมาย วิธีการระงับและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท รวมทั้งการกำกับดูแลจากหน่วยงานของรัฐไม่ เพียงพอ ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ในการศึกษาวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยนำทฤษฎีแนวคิดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคล และแนวคิดเกี่ยวกับชุมชน เอกชนที่มีประโยชน์ร่วมกัน และแนวคิดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ประกอบ กับการศึกษากฎหมายของรัฐฟลอริด้าประเทศสหรัฐอเมริกา และรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศ ออสเตรเลีย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการองค์กรที่อยู่อาศัย โดยศึกษาเปรียบเทียบ กฎหมายที่ทั้งสองประเทศใช้ในการบริหารจัดการองค์กรที่อยู่อาศัย เพื่อนำผลการศึกษามาเป็นหลักใน การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป จากการศึกษาในเรื่องนิติบุคคลในเรื่องชุมชนที่มีประโยชน์ร่วมกันเพื่อนำมาใช้ตอบคำถามใน เรื่องโครงสร้างของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร พบว่า บทบาทของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีความสำคัญในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคส่วนกลางของหมู่บ้านจัดสรร และสมาชิกมีความจำเป็นต้องมีส่วน ร่วมในการบริหารจัดการ และจากการศึกษาเรื่องนิติบุคคลชุมชน และแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงาน ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร พบว่าอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารชุมชน และสิทธิหน้าที่ของสมาชิก จะอยู่ ภายใต้กฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ร่วมกับข้อบังคับของหมู่บ้านจัดสรรนั้น โดยหน่วยงานภาครัฐมี ความจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการกำกับดูแล เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ และไม่เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่ใช้ร่วมกันของชุมชน และเมื่อได้ศึกษาประกอบกับกฎหมายของ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา และรัฐนิวเซาท์เวลส์ประเทศออสเตรเลียแล้ว พบว่าหลักการ พื้นฐานในจัดตั้งองค์กรที่อยู่อาศัยนี้เป็นไปตามหลักการชุมชนเอกชนที่มีสมาชิกใช้ประโยชน์ใน ทรัพย์สินร่วมกัน โดยสมาชิกมีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สินเหล่านั้น ซึ่งแตกต่างจากการซื้อขายบริการโดยทั่วไป โดยในปัจจุบันกฎหมายของไทยที่เกี่ยวกับการจัดตั้งนิติ บุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้น กำหนดหน้าที่ให้เป็นของสมาชิกผู้ซื้อที่ดินและสมาชิกมีหน้าที่ในการ บำรุงรักษาสาธารณูปโภคต่อจากผู้จัดสรรที่พ้นหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเกิดปัญหาการบริหาร จัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเป็นไปโดยไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้สาธารณูปโภคไม่ได้รับการ บำรุงรักษาที่เหมาะสม โดยจากการศึกษากฎหมายเปรียบเทียบของประเทศสหรัฐอเมริกาและ ประเทศออสเตรเลีย พบว่าหน้าที่ในการจัดตั้งองค์กรบริหารจัดการประเภทนี้เป็นของผู้จัดสรร เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีทรัพยากรที่เหมาะสมในการบริหารจัดการ กฎหมายจึงกำหนดให้ เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรร นอกจากนี้การบริหารจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีความสัมพันธ์กับ ทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง ดังนั้นผู้มาทำหน้าที่บริหารจึงควรต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมด้วย ในส่วน ของปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้สิทธิของสมาชิกนั้น พบว่าการให้ความคุ้มครองสิทธิของสมาชิกจะทำให้ สมาชิกตระหนักถึงหน้าที่ของตน ทำให้ปัญหาเรื่องการจัดเก็บเงินค่าใช้จ่ายลดน้อยลง และยังทำให้ ปัญหาข้อพิพาทลดลงด้วย ท้ายที่สุดจากการศึกษาในเรื่องทฤษฎีการทำหน้าที่ของรัฐ ที่รัฐไม่อาจพ้น จากความรับผิดจากการกระทำของเอกชนที่รัฐมอบหมายให้ทำได้แม้จะมีข้อโต้แย้งในเรื่องการ ดำเนินการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีลักษณะเป็นบริการเสริมที่เพิ่มเติมจากหน้าที่ของรัฐ รัฐจึงไม่ ต้องรับผิดจากการกระทำของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ก็ตาม อย่างไรก็ดีรัฐในฐานะผู้ควบดูแลจึง ต้องมีส่วนเข้ามากำกับดูแลเมื่อเกิดปัญหา จึงอาจกล่าวได้ว่า ปัญหาเรื่องการไม่มีการกำกับดูแลจาก หน่วยงานภาครัฐที่เพียงพอ ก็มีความสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข นอกจากนี้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร และไม่มีรายได้ดังเช่นองค์กรธุรกิจโดยทั่วไป การที่นำเอากฎหมายทั่วไป มาใช้บังคับใช้กับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจึงไม่ตอบสนองและไม่อาจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ จึงควรมีการกำหนดสถานะทางกฎหมายของนิติบุคคลให้เป็นองค์กรประเภทไม่แสวงหากำไร จากการศึกษาหลักในเรื่องการระงับข้อพิพาททางเลือก พบว่า การมีวิธีการระงับและไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางเลือกที่อาจเหมาะสมกับบริบทของสังคมหมู่บ้านจัดสรรเพื่อควบคุมให้การบริหารจัดการนิติ บุคคลหมู่บ้านจัดสรรเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จากข้อค้นพบสรุปว่ากฎหมายของประเทศไทย ยังมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขเพื่อสามารถแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการจัดสรร ที่ดิน พ.ศ. 2543 โดยกำหนดหน้าที่ในการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้เป็นของผู้จัดสรรที่ดิน และ ให้ผู้จัดสรรที่ดินจัดให้มีผู้บริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด การแก้ไขเพิ่มเติมในการกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารนิติบุคคลที่มีอย่างจำกัดและมีการกำกับ ดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ รวมไปถึงบทลงโทษแก่ผู้ทำละเมิดต่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และเมื่อ สมาชิกผู้ซื้อที่ดินมีความพร้อมในการรับโอนหน้าที่มาบริหารจัดการเองผู้จัดสรรจึงจะพ้นจากหน้าที่ใน การบำรุงรักษาสาธารณูปโภคส่วนกลาง แก้ไขเพิ่มเติมโดยมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้มาทำหน้าที่ บริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และต้องมีแก้ไขกฎหมายในการ กำหนดสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สมาชิกเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนในการ บริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ในส่วนของสถานะทางกฎหมาย ต้องมีการกำหนดสถานะทาง กฎหมายของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพื่อ ลดค่าใช้จ่ายของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และส่วนสุดท้ายต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องการกำกับ ดูแลการบริหารจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและการระงับและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เหมาะสมจาก หน่วยงานภาครัฐ โดยมีความจำเป็นที่ภาครัฐต้องเข้ามามีบทบาทในการกำกับดูแลมากขึ้น เพื่อให้การ บริหารจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543
  • Thumbnail Image
    Item
    สิทธิเด็กและการคุ้มครองสิทธิเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
    พรรณธิพา สุขจิตร์; เกียรติพร อำไพ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021)
    ความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการบำบัดรักษาภาวะการมีบุตรยาก สามารถช่วยให้ผู้มีภาวะการมีบุตรยากสามารถมีบุตรได้โดยการใช้เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์ทาง การแพทย์ซึ่งรวมไปถึงการตั้งครรภ์แทน และประเทศไทยได้ตรากฎหมายขึ้นรองรับการตั้งครรภ์แทนตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 กฎหมายได้บัญญัติกำหนดความเป็นบิดา มารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทน ตลอดจนถึงการควบคุมการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับตัวอ่อนและเทคโนโลยีช่วยในการ เจริญพันธุ์ทางการแพทย์ และกำหนดการคุ้มครองสิทธิเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทน โดยมีกฎหมายลูก เป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข ประกาศแพทยสภาและประกาศคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดย อาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์รวมทั้งสิ้น 21 ฉบับ พระราชบัญญัติฯ และประกาศ 21 ฉบับดังกล่าวยังไม่สามารถให้ความคุ้มครองสิทธิเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์ที่มีลักษณะเฉพาะอันแตกต่าง จากเด็กทั่วไปได้สมบูรณ์ เกิดเป็นประเด็นปัญหาความไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศ ไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามและเป็นประเด็นปัญหาการให้ความคุ้มครองสิทธิเด็กที่เกิด จากการตั้งครรภ์แทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่หญิงผูู้ตั้งครรภ.แทนมิใช่ญาติผูู้สืบสายโลหิตของสามีหรือ ภรรยาผู้ประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์แทน และวสามีและภรรยาเกิดเสียชีวิตก่อนเด็กเกิด บทบัญญัติตาม พระราชบัญญัติฯ กำหนดให้หญิงผู้ตั้งครรภ์แทนเป็นผู้ปกครองของเด็กชั่วคราว แต่เนื่องด้วยหญิงผู้ตั้งครรภ์ แทนมิได้เป็นผู้ถูกกำหนดให้ต้องทำหน้าที่ผู้ปกครองมาแต่ต้น ความไม่พร้อมและเหตุปัจจัยต่าง ๆย่อม ส่งผลต่อการคุ้มครองสิทธิในการอยู่รอด สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง และสิทธิที่จะได้รับการพัฒนา ของเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทน ส่วนในกรณีสามีและภริยาผู้ประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์แทนไม่ปรากฏตัว เมื่อเด็กเกิด พระราชบัญญัติฯ ไม่มีบทบัญญัติใช้บังคับกับกรณี จึงยิ่งเลวร้ายกว่ากรณีแรก นอกจากนี้ยังมี ประเด็นปัญหาการไม่มีบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างเด็กกับผู้บริจาคอสุจิหรือไข่อันกระทบต่อสิทธิในการรับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง และอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการรับบริการทางการแพทย์การดูแลสุขภาพและปัญหาจากการสมรสกับผู้ที่มีความใกล้ชิด ทางสายโลหิต ประเด็นปัญหาอีกประการหนึ่งคือ บทบัญญัติที่ห้ามปฏิเสธเด็กในทุกกรณีโดยไม่มีบท ข้อยกเว้น หากคู่สมรสผู้ประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์แทนเกิดตกอยู่ในสภาวะไม่เหมาะสมอย่างร้ายแรงทั้งใน สภาพร่างกายสภาพทางเศรษฐกิจ หรือสภาพทางสังคม กลายเป็นกรณีที่บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กต้องตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการได้รับประโยชน์สูงสุดและเสี่ยงต่อการได้รับความ คุ้มครองตามสิทธิเด็กทั้งปวง ผลที่ได้จากการศึกษาจึงนำไปสู่ข้อเสนอแนะให้มีการปรับแก้บทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครอง เด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 ให้สามารถคุ้มครองสิทธิเด็กที่ เกิดจากการตั้งครรภ์แทนให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัญหากฎหมายในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
    ดาริกา โพธิรุกข์; พัชรวรรณ นุชประยูร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)
    ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายในกระบวนการ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยการศึกษากระบวนการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมทั้งในระดับสากลและในประเทศที่พัฒนาแล้ว ตลอดจนมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคจากการนำมาตรการทางกฎหมายไปบังคับใช้ และนำข้อค้นพบที่ ได้มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า ในทางปฏิบัติกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมยังคงมีปัญหา ทางกฎหมาย ดังนี้ ประการแรกปัญหาการหลีกเลี่ยงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการ กำหนดประเภทและขนาดของโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือโครงการที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ประการที่สองปัญหาเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบในการจัดทำรายงานการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มีสิทธิจัดทำรายงาน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประการที่สามปัญหาการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ยังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ ประการที่สี่ปัญหาการ พิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในเรื่ององค์กรที่มีอำนาจในการพิจารณา ระยะเวลา และผลของการอนุมัติหรืออนุญาต และประการสุดท้ายปัญหาการกำหนดมาตรการในการ ติดตามตรวจสอบและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง กับกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในเรื่องกระบวนการและขั้นตอนการจัดทำรายงาน ดังนี้ 1) ขั้นตอนการกลั่นกรองโครงการ เสนอให้เปลี่ยนรูปแบบการกำหนดประเภทและ ขนาดของโครงการ โดยกำหนดให้การดำเนินโครงการที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำจะต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) หากโครงการใดที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญก็ให้ ดำเนินการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อไป รวมถึงให้อำนาจรัฐมนตรีกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการประกาศบัญชีรายชื่อของประเภทโครงการและขนาดที่ไม่ ต้องจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2) ขั้นตอนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เสนอให้ปรับปรุงกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2527 ในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม การขึ้นบัญชีดำผู้เชี่ยวชาญสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนในการจัดทำรายงานเท็จ รวมถึงการจัดตั้ง หน่วยงานที่กำกับดูแลมาตรฐานการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3) องค์คณะในการพิจารณาและระยะเวลาในการพิจารณารายงาน โดยเสนอให้ เพิ่มสัดส่วนจากผู้แทนภาคเอกชนในองค์ประกอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและ คณะกรรมการผู้ชำนาญการ และควรกำหนดกรอบระยะเวลาในการพิจารณารายงาน โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในโครงการ หรือกิจการ หรือการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐดำเนินการ ร่วมกับเอกชนที่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี รวมถึงหลักเกณฑ์กรณีการนำ รายงานที่เคยผ่านการพิจารณามาแล้ว 5 ปี มาอนุมัติดำเนินโครงการ 4) เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการกลั่นรองกรอง โครงการ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การกำหนดขอบเขตการศึกษาและวิธีการประเมิน การ เก็บข้อมูล/ตัวอย่าง ข้อคิดเห็นต่อร่างรายงาน และการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการ ป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องเผยแพร่ต่อสาธารณะและให้ ประชาชนสามารถเข้าถึงและแสดงความคิดเห็นได้ง่าย 5) รัฐบาลควรกำหนดแนวนโยบายในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้มีความ ชัดเจนและแน่นอนในการบริหารเพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยยึดมั่นในเจตนารมณ์ของกฎหมายในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามเป้าหมายของการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นการป้องกันล่วงหน้า (Precautionary Principle) อันเป็นการ คาดการณ์ผลกกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการ หรือกิจการ หรือการดำเนินการใด อันจะช่วยทำ ให้การบังคับใช้มาตรการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามเจตนารมณ์และเกิดประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น
  • Thumbnail Image
    Item
    มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองย่านชุมชนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
    ตุลญา โรจน์ทังคำ; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)
    ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาข้อจำกัดของกฎหมายที่ เกี่ยวข้องในการให้ความคุ้มครองย่านชุมชนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ตลอดจนศึกษามาตรการ ทางกฎหมายของต่างประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการให้ความคุ้มครองย่านชุมชนประวัติศาสตร์เพื่อ นำมาเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเฉพาะในการให้ความคุ้มครองย่านชุมชน ประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยไม่มีมาตรการทางกฎหมายเฉพาะเพื่อให้ความคุ้มครองย่าน ชุมชนประวัติศาสตร์ กรณีจึงเป็นการแตกต่างกับต่างประเทศที่มีมาตรการทางกฎหมายเฉพาะใช้ บังคับควบคู่กับกฎหมายการผังเมือง หรือมีกฎหมายผังเมืองกำหนดให้ความคุ้มครองเป็นการเฉพาะ และเมื่อพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องพบว่า มีขอบเขต ข้อจำกัดในการนำมาบังคับใช้เพื่อให้คุ้มครอง ย่านชุมชนประวัติศาสตร์ ดังนี้ 1) กฎหมายการผังเมืองไม่ได้มีการประกาศกำหนดขอบเขตของพื้นที่ ย่านชุมชนประวัติศาสตร์ รวมถึงการกำหนดผังเมืองรวมเกิดปัญหาซ้อนทับ (Overlay District) ระหว่างพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์และพื้นที่พาณิชยกรรม 2) ปัญหาการไม่ได้กำหนดคำนิยามความเป็น ย่านชุมชนประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 3) ปัญหาการบังคับใช้อย่างเข้มงวด ทำให้เกิดข้อจำกัดสิทธิของเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน 4) ปัญหาความซ้อนทับของหน่วยงานที่ รับผิดชอบ 5) ปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน และ 6) ปัญหาการขาดมาตรการสร้าง แรงจูงใจ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวนี้ผู้เขียนขอเสนอให้ประเทศไทยควรมีมาตรการทาง ทางกฎหมายอันเป็นกฎหมายเฉพาะในระดับพระราชบัญญัติเพื่อใช้ควบคู่กับกฎหมายการผังเมือง ดังต่อไปนี้ 1) กำหนดให้ประกาศขอบเขตของพื้นย่านชุมชนประวัติศาสตร์โดยกฎหมายการผังเมือง ด้วยวิธีการระยะสั้นอาจกำหนดผังเมืองรวมในรูปแบบของข้อบัญญัติท้องถิ่น และในระยะยาวให้ กำหนดขอบเขตของพื้นที่ด้วยผังเมืองเฉพาะในรูปแบบของพระราชบัญญัติ 2) ให้มีการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อให้ความคุ้มครองย่านชุมชนประวัติศาสตร์ ภายใต้กรอบ แนวทาง ดังนี้ (1) กำหนดนิยามความเป็นย่านชุมชนประวัติศาสตร์โดยให้มีลักษณะครอบคลุมตัว อาคารสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่แวดล้อมที่ประกอบขึ้นเป็นย่านชุมชนทั้งหมดนั้น (2) กำหนดให้มีการจัดแบ่งประเภทของย่านชุมชนประวัติศาสตร์ โดยยึดตัวอาคารหรือ กลุ่มอาคารเป็นหลักในการพิจารณาเพื่อจำแนก (3) กำหนดการให้ความคุ้มครองในลักษณะเชิงเข้มงวดแต่ให้มีความยืดหยุ่นไปในตัว โดยการกำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง รวมถึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ โดยเปิดโอกาสให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน รวมถึงประชาชนมีส่วนร่วมในขั้นตอน กระบวนการประกาศและขึ้นทะเบียนร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นและนำเสนอเรื่องต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวัฒนธรรมเพื่อพิจารณาประกาศและขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย (3.1) กรณีการรื้อถอน ซ่อมแซมหรือทำประการใด ๆ อันเป็นการทำลายตัว อาคารหรือพื้นที่ของความเป็นย่านชุมชนนั้น หากเป็นกรณีเร่งด่วน ควรเปิดช่องทางให้ประชาชนเข้ามี ส่วนร่วมในการรื้อถอน ซ่อมแซม ฯลฯ และควรกำหนดกรอบระยะเวลาไว้อย่างชัดเจน (3.2) หน่วยงานที่รับผิดชอบ กำหนดให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานหลักใน การทำหน้าที่ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองโดยมีคณะกรรมการอนุรักษ์ย่านชุมชน ประวัติศาสตร์ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ คำปรึกษาและให้ความเห็นชอบในการบริหารจัดการย่านชุมชน ประวัติศาสตร์และในส่วนท้องถิ่นกำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับ คณะกรรมการชุมชนทำหน้าที่ในการกลั่นกรอง พิจารณาความเป็นย่านชุมชนประวัติศาสตร์ในระดับ ท้องถิ่นก่อนนำเสนอเรื่องสู่การพิจารณาของหน่วยงานกลางเพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อนุมัติการขึ้นทะเบียนเพื่อให้ความคุ้มครอง (4) การมีส่วนร่วม ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในทุก กระบวนการทุกขั้นตอนของการกำหนดความเป็นย่านชุมชนประวัติศาสตร์ ตลอดจนกระบวนการให้ ความคุ้มครองร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐ (5) ควรกำหนดมาตรการสร้างแรงจูงใจในรูปแบบของมาตรการทางเงิน มาตรการทาง ภาษี และมาตรการทางสังคมในการยกย่องให้รางวัลเป็นชุมชนต้นแบบ เป็นต้น
  • Thumbnail Image
    Item
    มาตรการทางกฎหมายในการจัดทำและควบคุมการขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าในเมือง
    ฐิติชญาน์ คงชู; พัชรวรรณ นุชประยูร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)
    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำและ ควบคุมการขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าในเมืองของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นศึกษากรณีของรถไฟฟ้า ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานภาครัฐ 3 หน่วยงาน ได้แก่ 1) การรถไฟแห่งประเทศไทย (State Railway of Thailand; SRT), 2) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่ง ประเทศไทย (Mass Rapid Transit Authority of Thailand, MRTA) และ 3) กรุงเทพมหานคร (Bangkok Metropolitan Administration, BMA) วิธีการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารเป็นหลัก ได้แก่ บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและควบคุมการขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าในเมือง ของประเทศไทยและของต่างประเทศ หนังสือ บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์งานวิจัย เป็นต้น โดยผู้วิจัยจะนำข้อมูลเหล่านี้มาทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อให้ได้แนวทางในการปรับปรุง และพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและการควบคุมการขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าในเมือง ของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าในเมืองนั้น มีการบริหารจัดการและการดำเนินการเดินรถภายใต้กฎหมายที่แตกต่างกัน โครงการรถไฟฟ้าในเขต เมืองแต่ละโครงการมีการดำเนินงานอย่างอิสระมีความเป็นเอกเทศ เนื่องจากประเทศไทยยังขาด มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดทำและควบคุมการขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าในเมือง บาง องค์กรทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ประกอบการและเป็นผู้ควบคุมกำกับกิจการรถไฟฟ้า ทำให้บทบาทหน้าที่ของ องค์กร ไม่สอดคล้องกับโครงสร้างขององค์กรในการจัดทำบริการสาธารณะ ส่งผลทำให้กลไกในการ จัดทำบริการสาธารณะด้านขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าเกิดปัญหา 4 ประการ คือ 1) ปัญหากฎหมายด้านการควบคุมการเดินรถไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ 2) ปัญหากฎหมายด้านการควบคุมระบบการ เชื่อมต่อรางร่วมกัน 3) ปัญหากฎหมายด้านการควบคุมด้านความปลอดภัย และ 4) ปัญหากฎหมาย ด้านการควบคุมระบบตั๋วโดยสาร ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดโครงสร้างองค์กรที่เกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะด้านขนส่ง มวลชนด้วยรถไฟฟ้าในเมืองให้มีความสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ขององค์กร โดยลดบทบาทและ อำนาจของการรถไฟแห่งประเทศไทยและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ให้เป็นเพียง ผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้าเท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาการใช้อำนาจตามกฎหมายที่ทับซ้อนกับกรม ขนส่งทางรางซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ควบคุมกำกับกิจการรถไฟฟ้า ทำหน้าที่ในการควบคุมกิจการรถไฟฟ้า ในเมืองในเรื่องต่าง ๆ เช่น การเดินรถไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ ระบบการเชื่อมต่อรางร่วมกัน ควบคุม มาตรฐานด้านความปลอดภัย และระบบตั๋วโดยสาร เป็นต้น