GSSDE: Theses

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 571
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัจจัยเชิงเหตุ ด้านจิตลักษณะ สถานการณ์ และการรับรู้ปทัสถานที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ และการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในนักศึกษาปริญญาตรี
    วิลาวัลย์ คล้ายประยงค์; ดุจเดือน พันธุมนาวิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทัศนคติ และ การยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในนักศึกษาปริญญาตรี ในด้านการประเมินค่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ความรู้สึกต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ความพร้อมที่จะยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ว่ามีปริมาณแตกต่างกันมากน้อยเพียงใดการวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ ซึ่งมีกรอบแนวคิดฟื้นฐานในการวิจัยมาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม ตลอดจนทฤษฎีและหลักการที่สำคัญทางจิตวิทยา ทั้งในประเทศละต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ นักศึกษาปริญญาศรี ชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นกำหนดโควต้า ได้จำนวนทั้งสิ้น 498 คน เป็นเพศชาย 193 คน เพศหญิง 305 คน มีอายุเฉสี่ย 21 ปี 3 เดือน ตัวแปรในการวิจัยนี้ประกอบด้วย 6 กลุ่ม ได้แก่ จิตลักษณะ 2) สถานการณ์ 3) การรับรู้ปทัสถานด้าน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4) ทันคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5) การยอมรับโรงไฟฟ้าานิวเคลียร์ และ 6) ลักษณะชีวสังคมภูมิหลัง แบบวัดส่วนใหญ่เป็นแบบวัดมาตรประเมินรวมค่า ผลการวิจัยที่สำคัญ ประการแรก ผลการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ พบว่า การรับรู้ ปทัสถานจากผู้ปกครองเป็นตัวทำนายที่สำคัญที่สุด ในการทำนายทันคติที่ดีต่อ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (การประเมินค่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ความรู้สึกที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และความพร้อมที่จะยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์) และตัวทำนายที่สำคัญรองลงมา ได้แก่ ความรู้ด้านโรงไฟฟ้านิเคลียร์ทั่วไป และการรับรู้ปทัสถานจากเพื่อน ประการที่สอง ปัจจัยด้านจิตลักษณะ ร่วมกับสถานการณ์ และการรับรู้ปทัสถานด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และทัศนติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ รวม 15 ตัวแปร พบผลทำนายของกลุ่มที่มีความสำคัญต่อการยอมรับโรงไฟฟ้าานิวเคลียร์ ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาเพศหญิง กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กลุ่มนักศึกษาที่มีอายุน้อย กลุ่มนักศึกษาที่มารดามีระดับการศึกษาน้อย และกลุ่มนักศึกษาที่บิดามีระดับการศึกษาน้อย ตามลำดับ สำหรับผลทำนายของกลุ่มที่มีความสำคัญต่อความเห็นด้วยในการก่อตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในหมู่บ้านที่เป็นภูมิลำเนาเดิม และในปริมณฑลรอบกรุงเทพฯ ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาเพศหญิง กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กลุ่มนักศึกษาที่บิดามีระดับการศึกษาน้อย และกลุ่มนักศึกษาที่มารดามีระดับการศึกษาน้อย ตามลำดับ ประการที่สาม จากการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงเส้น พบว่า :) ตัวแปรความรู้ค้าน โรงไฟฟ้าานิเคลียร์มีอิทธิพลทางตรงต่อ ตัวแปรการรับรู้ปทัสถานด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และตัวแปรทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลท่ากับ .793 และ .459 ตามลำดับ) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ การยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผ่านทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .139) 2) ตัวแปรจิตลักษณะ มีอิทธิพลทางตรงไปยัง ตัวแปรทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (คำสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .273) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ การยอมรับโรงไฟฟ้าานิวเคลียร์ ผ่านทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟนิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .103) 3) ตัวแปร สถานการณ์ มีอิทธิพลทางตรงไปยัง ตัวแปร ทันคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .184) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ การยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ผ่านทัศนติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .069) 4) ตัวแปรการรับรู้ปทัสถานด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีอิทธิพลทางตรงไปยัง ตัวแปรทันติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .462) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ การยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผ่านทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์(ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .175) 5) ตัวแปร ทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีอิทธิพลทางตรงไปยัง ตัวแปรการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .378) ข้อเสนอแนะการปฏิบัติเพื่อการพัฒนานั้น พบว่า ตัวแปรที่มีความสำคัญอย่าง มากต่อการยอมรับโรงนิ วเคลียร์ คือ การรับรู้ปทัสถาน จากผู้ปกครอง และการรับรู้ปทัสถาน จากเพื่อนและความพร้อมที่จะยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้บุคคลที่มีบทบาทต่อการรับรู้ปทัสถานด้าน โรง ไฟฟ้านิวเคลียร์ของนักศึกษา เช่น ผู้ปกครอง และเพื่อนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อเป็นแบบอย่างด้านการมีทัศนคติที่ดี และมีการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อไป
  • Thumbnail Image
    Item
    วิถีอนุตตรธรรมกับการพัฒนาสังคมไทย กรณีศึกษา มูลนิธิเทิดคุณธรรม จังหวัดนครราชสีมา
    ปวีณา โนนศิลา; หลี่ เหรินเหลียง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    งานวิจัยเรื่อง วิถีอนุตตรธรรมกับการพัฒนาสังคมไทย กรณีศึกษา มูลนิธิเทิดคุณธรรม จังหวัดนครราชสีมา เป็นการศึกษาตามระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการสำคัญของวิถีอนุตตรธรรมที่มูลนิธิเทิดคุณธรรมนำมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาประชาชนในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่ความศรัทธาในวิถีอนุตตรธรรมของกลุ่มอาสาสมัครมูลนิธิฯ ซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งสิ้นจำนวน 15 คน จากการศึกษา พบว่า มูลนิธิเทิดคุณธรรมได้นำหลักการสำคัญของวิถีอนุตตรธรรมมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาให้ประชาชนในสังคมไทยในทุกรุ่นวัยได้ฟื้นฟูจิตเดิมแท้ดีงามของตนเอง ตระหนักรู้คุณค่าของชีวิตและรู้จักกำหนดชีวิตของตนให้ดำเนินไปบนพื้นฐานของคุณธรรมทั้ง 8 ประการ คือ ความกตัญญู ความสามัคคีปรองดอง ความจงรักภักดี การมีสัตยธรรม การมีจริยธรรม การมีมโนธรรมสำนึก การมีสุจริตธรรม และการมีความละอายต่อบาป โดยอาศัยการจัดชั้นอบรมศึกษาหลักธรรมเป็นแนวทางในการส่งเสริมอบรมกล่อมเกลาประชาชนให้ได้เรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนและนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อให้สังคมไทยได้เกิดการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น อาทิ การมีความรัก ความเมตตา ความเข้าใจต่อกันภายในครอบครัวเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การคบหาสมาคมกับเพื่อนด้วยความจริงใจ การมีอัธยาศัยไมตรีที่ดีต่อเพื่อนบ้าน การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจอย่างเต็มความสามารถในสังคมวัยทำงาน การมีจิตสาธารณะและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ประชาชนรู้จักหลักการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อจะได้มีอายุวัฒนา รวมถึงการมีจิตเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อสังคมสงบสุข โลกเป็นเอกภาพตามแนวสันติธรรม อย่างไรก็ดี หากสังคมไทยสามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ตามหลักการดังกล่าว นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ในทางปฏิบัติพบว่า ยังมีความท้าทายอยู่มาก อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการในสังคม อย่างไรก็ตาม มูลนิธิเทิดคุณธรรมยังคงมุ่งมั่นสืบสานปณิธานในการส่งเสริมประชาชนให้ดำเนินชีวิตด้วยคุณธรรมต่อไป โดยมีแนวร่วมภาคประชาชนที่เห็นความสำคัญและเข้ามาเป็นอาสาสมัครเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี สำหรับปัจจัยที่ทำให้กลุ่มบุคคลก่อเกิดความศรัทธาในวิถีอนุตตรธรรมและเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นอาสาสมัครร่วมกับมูลนิธิฯ จากการศึกษาพบว่า มีปัจัยสำคัญที่เป็นแรงจูงใจ คือ การศึกษาในชั้นอบรมจนเข้าใจในหลักธรรมและนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เข้าใจในสัจธรรมชีวิต การที่มีความสุขมากขึ้น การเข้าใจตนเองและผู้อื่นมากขึ้น ความรู้สึกศรัทธาในธรรมะและเห็นคุณค่าของชีวิต อยากทำประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น ความเห็นแก่ตัวลดลง ความโลภ ความโกรธ ความหลงลดลง การรู้จักเตือนตนเตือนใจให้ระงับยับยั้งอารมณ์โทสะได้มากขึ้น การมีจิตเมตตาต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสรรพสัตว์มากขึ้น รวมถึงความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าช่วยดลบันดาลการช่วยเหลือหนุนนำอยู่เบื้องหลัง หากตนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็จะได้รับความเมตตาคุ้มครองดูแลจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้อยู่เย็นเป็นสุขและอยู่รอดปลอดภัยจากภัยพิบัติหรือสิ่งไม่ดีทั้งหลาย การเข้ามามีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครตามวาระและโอกาสที่ตนสะดวกในการทำความดีร่วมกับมูลนิธิฯ ก็เปรียบเสมือนเป็นการตอบแทนพระคุณพ่อแม่ บรรพบุรุษ ตอบแทนสังคมประเทศชาติบ้านเมือง เพื่อช่วยกันจรรโลงคุณธรรมความดีให้เกิดขึ้นในสังคมไทยสืบไป
  • Thumbnail Image
    Item
    ภาคีภิบาลป่าไม้ในพื้นที่คุ้มครองในเขตตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
    สิทธิพร รอดไพรสม; สุวิชา เป้าอารีย์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการภาคีภิบาลป่าไม้ในพื้นที่คุ้มครองในเขตตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน และศึกษาเงื่อนไขความสำเร็จในการจัดการภาคีภิบาลป่าไม้ในพื้นที่คุ้มครองในเขตตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 19 คน วิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การจัดการภาคีภิบาลป่าไม้คือ กระบวนการจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ที่มีเป้าหมายร่วมในการบริหารจัดการป่าไม้อย่างมีธรรมาภิบาลในพื้นที่คุ้มครองในเขตตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน แบ่งออกได้ 5 ขั้นตอน คือ 1. การค้นหาและประเมินความสำคัญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการป่าไม้ 2. การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมีส่วนร่วม 3. กำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม 4. การประชาสัมพันธ์และรับความคิดเห็นจากสมาชิกในชุมชน และ 5. การติดตาม รายงานและถอดบทเรียนผลการดำเนินงาน โดยทั้ง 5 ขั้นตอนจะมีการแบ่งบทบาทในการนำกระบวนการพูดคุย การนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนการสนับสนุนข้อคิดเห็นและปัจจัยในการดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบและศักยภาพที่มี เพื่อสร้างความรู้สึกในการเป็นเจ้าของในภารกิจและสิ่งที่ทำร่วมกันโดยปราศจากการการรับคำสั่งหรือปฏิบัติตามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีอำนาจเหนือกว่า  สำหรับปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จในการจัดการภาคีภิบาลป่าไม้ต้องอาศัยเงื่อนไขสำคัญ 4 ประการ คือ ประการที่ 1 ตระหนักและยอมรับอย่างจริงใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ประการที่ 2 แสดงความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรวมถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งทางบวกและลบ ประการที่ 3 ใช้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและยอมรับจากทุกฝ่าย ประการที่ 4 ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ทุกระดับ
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
    อามีนิลลา หะยีซอ; รติพร ถึงฝั่ง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา จำนวน 381 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ตัวแปรที่มีอิทธิพลสามารถทำนายพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด ได้แก่ปัจจัยด้านครอบครัว (β = - 0.209) ปัจจัยเกี่ยวกับกลุ่มเพื่อน (β = - 0.484) และปัจจัยเกี่ยวกับชุมชน (β = - 0.105 ) ซึ่งตัวแปรทั้งสามสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดได้ร้อยละ 48.0 (Adjust R' = .480) การศึกษานี้เสนอแนะว่า ปัจจัยด้านกลุ่มเพื่อนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลในการลดการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นควรเสริมสร้างการตระหนักรู้ในการเลือกคบเพื่อน และเสริมสร้างทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการใช้ชีวิต ทักษะการปฏิเสธ การจัดการกับความเครียด การคิดอย่างมีวิจารณญาณในการรับมือกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่กระทำพฤติกรรมเสี่ยงอันจะเป็นปัญหาในสังคมต่อไป
  • Thumbnail Image
    Item
    การขับเคลื่อนเครือข่ายเพื่อการคุ้มครองเด็ก : กรณีศึกษาเครือข่ายคุ้มครองเด็กเทศบาลเมืองหนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
    ปัณณธร นันทิประภา; สุวิชา เป้าอารีย์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบการคุ้มครองเด็กที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนเครือข่ายคุ้มครองเด็ก 2) วิเคราะห์ขั้นตอนการขับเคลื่อนเครือข่ายคุ้มครองเด็ก และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะต่อการจัดการเครือข่ายคุ้มครองเด็กเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน ได้แก่ สมาชิกของเครือข่ายคุ้มครองเด็กในพื้นที่เทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นสมาชิกที่มาจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมถึงเยาวชนที่เข้าร่วมเครือข่าย ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของระบบการคุ้มครองเด็กที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเครือข่ายคือ 1) มีนโยบาย แผนงานการคุ้มครองเด็กที่ดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2) มีกลไกการให้บริการด้านการคุ้มครองเด็กในพื้นที่ 20 หน่วยงาน 3) มีกระบวนการพัฒนาศักยภาพด้านทักษะ ความรู้ และกระบวนการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็ก 4) มีกลไกประสานความร่วมมือระดับท้องถิ่นตามแนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาระบบคุ้มครองเด็กในระดับตำบล 5) มีกลไกการตรวจสอบด้วยการรายงานและกระบวนการตอบสนองการจัดการรายกรณีด้วยทีมสหวิชาชีพ 6) มีวงจรการดูแลเด็กในรูปแบบการป้องกันและการปกป้องคุ้มครอง 7) เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการคุ้มครองเด็กในพื้นที่ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้นำไปสู่การสร้างเครือข่ายและการขับเคลื่อนเครือข่าย 3 กระบวนการคือ 1) การบริหารจัดการเครือข่าย 2) การพัฒนาเครือข่าย 3) การรักษาเครือข่าย อย่างไรก็ตามยังพบปัญหาจากการขับเคลื่อนเครือข่าย 2 ประการคือ 1) เครือข่ายยังไม่มีการจัดระบบข้อมูลพื้นฐานและจัดการความรู้สำคัญ 2) เครือข่ายยังขาดการสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายในเรื่องการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเครือข่ายคุ้มครองเด็ก
  • Thumbnail Image
    Item
    สุขภาวะและการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนศรีฐาน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
    สิริยากร สิงห์เสนา; อาแว มะแส (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนศรีฐาน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) ศึกษาการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชน และ 3) วิเคราะห์เงื่อนไขที่สำคัญของการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชน การดำเนินการวิจัยเป็นไปตามวิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกรณีศึกษาเป็นหลัก ควบคู่การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการจัดหมวดหมู่ การสังเคราะห์ข้อมูลและการตีความ ผลการศึกษาพบว่าชุมชนศรีฐาน เป็นชุมชนเมืองที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในทิศทางที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชน ผู้สูงอายุที่เลือกเป็นกรณีศึกษาล้วนมีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1-2 โรค ส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรังและไม่ติดต่อ แต่ยังคงสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันตามศักยภาพของตนเองได้ การชี้แนะที่ดีมีความสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุให้สามารถพึ่งตนเองได้ เงื่อนไขที่สำคัญของการสร้างเสริมสุขภาวะ มีหลายประการ ทั้งสภาพร่างกายของตัวผู้สูงอายุแต่ละคน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ครอบครัว กลุ่มจิตอาสาในชุมชน สภาพแวดล้อม ที่ตั้งของชุมชน และสนับสนุนจากฝ่ายการเมืองท้องถิ่น ข้อเสนอแนะที่สำคัญคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สำหรับใช้เป็นพื้นที่กลางให้ผู้สูงอายุในชุมชนทำกิจกรรมร่วมกันและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา