GSL: Theses

Permanent URI for this collectionhttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/44

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 247
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัญหาการคุ้มครองสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับพระสงฆ์เถรวาทในประเทศไทย
    พระครูปริยัติวีราภรณ์ ธีรศักดิ์ บุญหวาน; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
    การศึกษาเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงปัญหาที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดสิทธิพระสงฆ์ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ในประเด็น ความเหมาะสมในการนำมาตรา 29 และมาตรา 30 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาบังคับใช้ในกรณีการให้พระภิกษุสละสมณเพศ เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาจากเอกสารร่องรอยจากร่องรอยของข้อมูลในกรณี พระพิมลธรรม ข้อค้นพบจากคำพิพากษา คดีดำที่ 8739/2503 ศาลแขวงพระนครใต้ ประเด็นกรณีเงินทอนวัด กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เอกสารเกี่ยวกับองค์กรทางพระพุทธศาสนาในอดีตและปัจจุบันในงานวิจัยนี้ โดยเน้นการบริหารจัดการองค์กรคณะสงฆ์ตั้งแต่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 เป็นต้นมา ผลการวิจัยพบว่า ก่อนมีศาลปกครองได้มีการยื่นฟ้องคดีที่ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมรับคำร้องไว้พิจารณา จนมีคำสั่งและคำพิพากษาศาลฎีกา ทำให้เห็นว่าก่อนมีศาลปกครองการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ยังถูกควบคุมโดยศาลยุติธรรม แต่สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นหลังมีศาลปกครองก็คือ ศาลปกครองไม่รับคำร้องในกรณีดังกล่าวไว้พิจารณา โดยให้เหตุผลว่า “คณะสงฆ์หรือองค์กรทางพระพุทธศาสนานั้นมีกระบวนการเยียวยาและสร้างความเป็นธรรมภายในองค์กรที่เหมาะสมเป็นระบบดีแล้ว ศาลปกครองไม่อาจจะปฏิเสธการเข้าไปควบคุมตรวจสอบได้เลยเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของฝ่ายปกครอง แนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม และมาตรการเพื่อคุ้มครองพระพุทธศาสนา ควรมีการแก้ไขและเพิ่มเติมเนื้อหาในมาตรา 29 และ มาตรา 30 เพื่อป้องกันมิให้พนักงานสอบสวนใช้อำนาจดุลยพินิจเพียงฝ่ายเดียวและไม่เหมาะสม ในกรณีที่คดียังไม่ถึงที่สุดห้ามสึกพระเป็นอันขาด และควรตั้งศาลสงฆ์ขึ้นมาพิจารณาคดีร่วมกับฝ่ายบ้านเมือง เช่นในการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับทหาร ยังมีศาลพระธรรมนูญของทหาร เป็นการป้องกันมิให้ผู้ไม่หวังดีต่อพระพุทธศาสนาใช้ช่องว่างของกฏหมายเข้ามาอาศัยประโยชน์ อีกทั้งเป็นการถ่วงดุลย์ในการใช้อำนาจของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • Thumbnail Image
    Item
    ประเด็นทางกฎหมายว่าด้วยสิทธิในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติ
    ประภาณิชา เงินกลมธนดล; ประพิน นุชเปี่ยม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
    ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา จึงยังคงต้องมีมาตราการ และข้อจำกัดเรื่องสิทธิในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์แก่คนต่างด้าวหรือนักลงทุนต่างชาติไว้ด้วยเหตุผลทางด้านความมั่นคงของประเทศ และยังคงไว้ซึ่งการกำหนดประเภทกิจกรรมต้องห้ามสำหรับนักลงทุนต่างชาติในกิจการที่คนไทยยังไม่พร้อมแข่งขัน แต่กระนั้นเอง ประเทศไทยกลับมีกฎหมายหลายฉบับที่อนุญาตให้คนต่างด้าวสามารถถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้อย่างมีเงื่อนไข ด้วยว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาจึงยังคงมีความจำเป็นที่ต้องอาศัยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และสร้างรายได้ให้กับประเทศ สิทธิในที่ดินว่าด้วยสิทธิการเช่าเป็นทางเลือกหนึ่งในการให้สิทธิในที่ดินแก่ของนักลงทุนต่างชาติเพื่อให้เกิดแนวทางหรือมาตราการทางกฎหมายว่าด้วยการลงทุนประเภทการลงทุนเพื่อที่อยู่อาศัย (Housing Investment) กฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนของประเทศไทยหลายฉบับที่อนุญาตให้คนต่างด้าวสามารถเช่าที่ดินในระยะยาวได้ แต่จะเป็นการอนุญาตให้ภายในเฉพาะพื้นที่ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นๆ เช่นเฉพาะพื้นที่ในบางจังหวัดที่กฎหมายกำหนด พื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้ถือเป็นข้อจำกัดที่ไม่ตรงต่อความต้องการของคนต่างด้าว หรือนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการสิทธิในที่ดินว่าด้วยสิทธิการเช่าเพื่ออยู่อาศัยในพื้นที่ที่เหมาะแก่การพักผ่อน และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนต่อกฎหมายแม่บท หรือกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนที่มีอยู่เดิมแล้ว วิทยานิพนธ์ฉบับจึงเสนอให้มีกฎหมาย หรือกำหนดเป็นมาตราการขึ้นมาใหม่โดยบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะสำหรับสิทธิในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ของคนต่างด้าวว่าด้วยการลงทุนในสิทธิการเช่าที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย (Housing Investment Law) เพื่อเป็นแนวทาง หรือวิธีแก้ปัญหาและข้อจำกัดอย่างเฉพาะเจาะจงให้แก่คนต่างด้าวหรือนักลงทุนต่างชาติกลุ่มนี้ โดยไม่กระทบหรือสร้างความสับสนต่อกฎหมายอื่นที่มีอยู่ และเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินในประเทศอย่างบูรณาการ ทั้งยังช่วยส่งเสริมศักยภาพของประเทศไทยให้เท่าเทียมกับหลายๆ ประเทศอีกด้วย อย่างไรก็ตาม กฎหมายหรือมาตราการดังกล่าวนี้ควรประกอบไปด้วย หลักความมั่นคงของชาติ หลักการรับรองสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน หลักการดูแลและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของนักลงทุน หลักความเสมอภาค หลักการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (NT) หลักประเพณีการค้าระหว่างประเทศ โดยคำนึงถึงบริบทของประเทศ วิถีชุมชนและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ที่จะให้สิทธิในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ว่าด้วยสิทธิการเช่าระยะยาวนี้แก่นักลงทุนต่างชาติด้วย
  • Thumbnail Image
    Item
    มาตรการและกลไกทางกฎหมายในการประกอบกิจการ : ศึกษากรณี การขออนุญาตประกอบกิจการโรงแรม
    ฐิตาพร อุทุก; พัชรวรรณ นุชประยูร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    มาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมการประกอบกิจการ เป็นเครื่องมือหนึ่งของรัฐที่ นำมาใช้ในการจัดระเบียบ การประกอบ อาชีพหรือ การประกอบ กิจการของประชาช น ซึ่งแตกต่างกันไปตามรูปแบบของการควบคุมกำกับดูแลของระบบกฎหมาย โดยระบบอนุญาตเป็น มาตรการหลักที่หลายประเทศนิยมนำมาใช้ในการควบคุมการประกอบอาชีพหรือการประกอบกิจการ ของประชาชน แต่อย่างไรก็ดีมักมีข้อโต้แย้งอยู่ว่าระบบดังกล่าวเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคล ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินของภาคธุรกิจ ส่งผลต่อการ พัฒนาและขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่าล่าช้า และเป็นที่มาของการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในสังคม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้มุ่งศึกษาประเด็นปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรการและกลไกทาง กฎหมายในการประกอบกิจการโรงแรม โดยมีขอบเขตการศึกษาเฉพาะกรณีอาคารโรงแรมที่สร้างใหม่ เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจโรงแรม โดยได้ศึกษาแนวคิดว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ของประชาชน การปฏิรูปกฎหมายเพื่อการส่งเสริมกิจการประกอบกิจการในภาคธุรกิจทั้งใน ต่างประเทศและของประเทศไทย ประกอบกับวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวกับการดำเนินการตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการดำเนินการต่างขั้นตอนต่าง ๆ ในการอนุญาตตามกฎหมาย เพื่อนำไปสู่การ ปรับปรุงรูปแบบมาตรการในการควบคุมการประกอบกิจการโรงแรมให้สอดคล้องกับความจำเป็นทาง เศรษฐกิจและสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยลดทอนกลไกของรัฐให้มีความผ่อนคลาย สะดวก และรวดเร็ว แต่ยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพของรัฐในการควบคุมหรือกำกับดูแลการประกอบกิจการโรงแรม จากการศึกษาพบว่ามีประเด็นปัญหาสำคัญ 3 ประการคือ 1) ปัญหาความทับซ้อนและความ ไม่เป็นเอกภาพของกฎหมายที่เกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม อันส่งผลให้ผู้ ประกอบกิจการจะต้องดำเนินการขอใบอนุญาตหลายใบสำหรับกิจการเดียวกัน 2) ปัญหาใน กระบวนการและขั้นตอนการขออนุญาตประกอบกิจการโรงแรม ซึ่งมีกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยาก และมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้องในการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาอนุญาตที่ก่อให้เกิดความล่าช้าและ 3) รูปแบบที่เหมาะสมในการควบคุมกำกับการประกอบกิจการโรงแรม ซึ่งในปัจจุบันการควบคุม การดำเนินการประกอบกิจการโรงแรมของประเทศไทยอยู่ภายใต้รูปแบบระบบอนุญาตอันส่งผล กระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของผู้ประกอบการค่อนข้างมาก สร้างภาระในการดำเนินการ และ ไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและเศรษฐกิจ โดยผู้วิจัยเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายเพื่อให้มี กฎหมายเท่าที่จำเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับ สภาพการณ์หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชนและเพื่อ พัฒนากฎหมายที่บังคับใช้อยู่ให้มีประสิทธิภาพ โดยเปลี่ยนแนวความคิดการควบคุมการประกอบ กิจการโรงแรมที่ใช้มาตรการควบคุมอย่างเคร่งครัดในรูปแบบระบบอนุญาต เพื่อลดระดับการควบคุม กำกับดูแลตามความสำคัญของกิจการเป็นเพียงมาตรการการควบคุมเท่าที่จำเป็นในรูปแบบของการ จดแจ้ง ที่มุ่งเน้นไปในทางส่งเสริมและกำกับกิจการ (Better Regulation) เพื่อเป็นการยกมาตรฐาน การประกอบกิจการโรงแรม อำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ รวมทั้งสร้างความปลอดภัยในแง่ของ มาตรฐานผู้ให้บริการทางพาณิชย์ธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรม ลดอุปสรรคขั้นตอนและภาระต้นทุนในการ ประกอบกิจการของประชาชนที่จำเป็นต้องให้มีการพัฒนาแก้ไขเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงแรมให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของสังคมและเศรษฐกิจที่ เปลี่ยนแปลงไป
  • Thumbnail Image
    Item
    การตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยใช้ประชาชนด้วยการถอดถอนจากตำแหน่ง
    ธนกฤต ปัญจทองเสมอ; ตรีเพชร์ จิตรมหึมา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011)
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงสภาพปัญหา อุปสรรคและรูปแบบการตรวจสอบ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยประชาชนด้วยการถอดถอนจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งรูปแบบ (Model) ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย การศึกษาได้ ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เอกสารไทยและต่างประเทศ การศึกษาพบว่า นิยามคำว่า ถอดถอน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาจาก แนวคิดการถอดถอนแบบการฟ้องขับออกจากตำแหน่ง (Impeachment) และการถอนถอนแบบ ถอดออกจากตำแหน่ง (Recall) สำหรับการตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดย ประชาชนด้วยการถอดถอนจากตำแหน่งตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 270 ประกอบมาตรา 164 มีลักษณะแบบผสม 2 แนวคิด คือ การฟ้องขับออกจากตำแหน่ง และการถอดออกจากตำแหน่งโดยมีสาเหตุมาจากมูลฐานความผิด 6 มูลฐาน คือ 1) พฤติการณ์ ร่ำรวยผิดปกติ 2) ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ 3) ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ 4) ส่อ ว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม 5) ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายและ 6) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ส่วนการตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการของศาลโดยประชาชนตามรัฐธรรมนูญนั้นเป็น หลักคิดที่ยอมรับกันในระดับนานาชาติ แต่ในการนำมาใช้ในประเทศกลับน้อยมากทั้งนี้อาจมี ปัญหามาจาก การขาดความชัดเจนในด้านแนวคิด รูปแบบ กระบวนการตรวจสอบ และภาคประชาชนใช้สิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการตรวจสอบ การศึกษาได้เสนอแนะให้ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบถึงสิทธิในการ ตรวจสอบเพื่อการถอดถอนดุลการศาลรัฐธรรมนูญในการใช้อำนาจโดยไม่ชอบ ในการใช้สิทธิโดย ผ่านโดยช่องทางที่เหมาะสมมากที่สุด เสนอแนะให้ใช้สิทธิผ่านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติและผู้ตรวจการแผ่นดิน สำหรับขั้นตอนวิธีการถอดถอนควรประยุกต์ใช้รูปแบบของสหรัฐอเมริกา ควรตระเตรียมให้ มีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลและสิทธิในเบื้องต้นได้อย่าง สะดวกและรวดเร็ว ควรมีระเบียบเรื่องการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสู่สาธารณะของศาลรัฐธรรมนูญ และส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกของประชาชนในเรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในรูปแบบของ เครือข่ายสังคมกลุ่ม และสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยด้านการพัฒนาเครือข่ายสังคม เพื่อการ คุ้มครองสิทธิของประชาชนมากขึ้น
  • Thumbnail Image
    Item
    การคุ้มครองผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำชำเราทางเพศในชั้นสอบสวน
    พรไพลิน สุทธิสวาท; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    ในปัจจุบันคดีอาชญากรรมประเภทคดีข่มขืนกระทำช้ำเราได้มีการพัฒนาที่สลับซับซ้อนทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นและไม่จำกัดเพศในการตกเป็นผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำช้ำเรา ทำให้มีผู้ตกเป็นผู้เสียหายมากขึ้น ผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำช้ำเรามีผลต่อผู้เป็นเหยื่อทั้งทางร่างกายและจิตใจ และเมื่อผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งในประเทศไทยนั้นกระบวนการในการสอบสวนของพนักงานสอบสวนโดยวิธีการสอบถามปากคำผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำช้ำเรานั้นวิธีการในการสอบสวนเหมือนกับการสอบถามปากคำผู้เสียหายในคดีอาชญากรรมทั่ว ๆ ไป ทำให้ผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำช้ำเรารู้สึกเหมือนตกเป็นเหยื่อซ้ำสอง (Revictimization) ส่งผลต่อความรู้สึกทางจิตใจมากขึ้น ประเทศไทยมีการให้ความคุ้มครองผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 133 ทวิ แต่ในมาตรานั้นให้ความคุ้มครองเฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายมีอายุไม่เกินสิบแปดปีในการสอบถามปากคำของพนักงานสอบสวนตามข้อบังคับของกฎหมายจะมีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ ร่วมอยู่ในการสอบถามปากคำ แต่ในการสอบถามปากคำผู้เสียหายที่มีอายุสิบแปดปีขึ้นไปในคดีข่มขืนกระทำช้ำเรากลับไม่ได้รับความคุ้มครองให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ร่วมอยู่ด้วยในการสอบถามปากคำของพนักงานสอบสวนเพราะถึงแม้ว่าผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำช้ำเราจะเป็นเพศใดเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นก็ย่อมถือเป็นผู้เสียหายที่มีภาวะจิตใจอ่อนแอ (Yulnerable Victim) ที่ควรได้รับการคุ้มครองที่แตกต่างไปจาก ผู้เสียหายในคดีอาชญากรรมแบบทั่วไปก็ตามและการแก้ไขในการสอบถามปากคำผู้เสียหายที่มีอายุสิบแปดปีขึ้นไปให้พนักงานสอบสวนสอบถามปากคำผู้เสียหายโดยให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ร่วมอยู่ด้วยกับผู้เสียหายในการสอบสวน เพื่อมิให้ผู้เสียหายรู้สึกไม่สบายใจในบางคำถามที่พนักงานสอบสวนได้สอบถามปากคำถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อตัวของผู้เสียหาย ด้วยเหตุนี้หากการสอบถามปากคำของพนักงานมีการกระทำที่มิทำให้ผู้เสียหายเกิดความกระทบกระเทือนใจมากขึ้น ก็ทำให้ผู้เสียหายรู้สึกมั่นใจและเข้ามาฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได
  • Thumbnail Image
    Item
    สิทธินัดหยุดงานในกิจการสาธารณูปโภค
    สิริณพร ศิริชัยศิลป์; สุนทร มณีสวัสดิ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงการรับรองสิทธินัดหยุดงานตามมาตรฐานแรงงานระหว่าง ประเทศและกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ภายใต้แนวคิดเกี่ยวกับหลักสิทธิและเสรีภาพ หลักการเจรจาต่อรอง หลักความต่อเนื่องของการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อพิเคราะห์การรับรองสิทธินัดหยุดงานในกิจการสาธารณูปโภคตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ของประเทศไทย โดยทำการศึกษาในเชิงคุณภาพบนเอกสารทางวิชาการอันประกอบด้วยหนังสือ วารสาร บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย กฎหมายภายในประเทศและกฎหมายของต่างประเทศผลการศึกษาพบว่า กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฉบับปัจจุบัน มีบทบัญญัติห้ามมิให้พนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่งนัดหยุดงานโดยเด็ดขาด โดยมิได้คำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจของประเทศไทยในแต่ละแห่งว่ามีภารกิจในการดำเนินการเพื่อให้บริการสาธารณะหรือไม่ นับว่าเป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของลูกจ้างไว้เกินสมควร ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศที่ได้วางหลักเกณฑ์ในการจำกัดสิทธินัดหยุดงานของ ลูกจ้างไว้ว่าสามารถกระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อการรักษาไว้ซึ่งประโยชน์สาธารณะเท่านั้น และไม่ถือว่าขัดต่อหลักเสรีภาพในการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน โดยให้พิจารณาจากประเภทของบริการสาธารณะที่มีความจำเป็นต่อชีวิต ความปลอดภัย และสุขอนามัยของประชาชนเป็นประการสำคัญแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวสามารถกระทำได้โดยการนำความเห็นของคณะกรรมการว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมขององค์การแรงงานระหว่างประเทศมาเพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณารับรองสิทธินัดหยุดงานให้แก่แรงงานในรัฐวิสาหกิจ และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น แก่สาธารณะชน ควรนำมาตรการทดแทนการใช้สิทธินัดหยุดงานตามกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ให้มีความเหมาะสมกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศไทย รวมทั้งเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานสากลต่อไป
  • Thumbnail Image
    Item
    ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เหมาะสมกับประเทศไทย: ศึกษากรณีระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม
    ชนิดาภา มงคลเลิศลพ; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อความคิตว่าด้วยหลักประซาธิปไตยและระบบการเลือกตั้ง ศึกษาพัฒนาการระบบการเลือกตั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ศึกษาปัญหาระบบการเลือกตั้งในประเทศไทย และเพื่อเสนอแนะระบบการเสือกตั้งที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทยผลการศึกษาพบว่าระบบการเลือกตั้งของประเทศไทย ทั้งระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดาและระบบการเลือกตั้งผสมแบบคู่ขนาน ผลการเลือกตั้งไม่สามารถสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนเจ้าของอำนาจได้อย่างแท้จริง ทั้งยังเป็นระบบที่มีแนวโน้มทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดกลางและพรรคการเมืองขนาดเล็กเสียเปรียบ ไม่เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นใหม่สามารถพัฒนาตนเองในทางการเมืองได้ กล่าวคือ พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นใหม่ไม่มี ศักยภาพเพียงพอที่จะต่อสู้กับพรรคการเมืองขนาตใหญ่ ทำให้ไม่สามารถมีที่นั่งในสภาหรือเติบโตเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนได้เลย ทำให้ระบบรัฐสภาไม่สามารถเป็นกสไกสะท้อนสภาพปัญหาของประชาชนในประเทศได้อย่างแท้จริง ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการเลือกตั้งที่ต้องการให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดอนาคตของประเทศโดยการเลือกผู้แทนของตนผ่านการเลือกตั้ง ทั้งนี้ แตกต่างจากระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในประเทศเยอรมนีและประเทศนิวซีแลนด์ มีหลักการคล้ายกับระบบการเลือกตั้งผสมแบบคู่ขนาน แตกต่างกันในส่วนของวิธีการคิตคะแนน โดยระบบสัดส่วนผสมจะมีการคิดคะแนนจัดสรรที่นั่งซึ่งทั้งสองระบบมีความเชื่อมโยงต่อกัน มีการชดเชยที่นั่งจากระบบบัญชีรายชื่อ อันเป็นผสให้ผลการเลือกตั้งสามารถสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน์ได้อย่างแท้จริง คะแนนเสียงของผู้ออกเสียงได้สัดส่วนกับจำนวนที่นั่งที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับตามความเป็นจริง ก่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกพรรคการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก หรือแม้แต่เป็นพรรคการเมืองที่เกิดขึ้ใหม่ ดังนั้น จึงส่งผลต่อระบบพรรคการเมืองให้มีความหลากหลาย เป็นสถาบันที่มีอุดมการณ์และรากฐานจากประชาชน ระบบรัฐสภาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลเป็นกระจกสะท้อนปัญหาและความต้องการของประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริงจึงเห็นได้ว่า ระบบการเลือกตั้งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโครงสร้างระบบการเมือง การออกแบบระบบการเลือกตั้งจึงต้องพิจารณให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละประเทศ โดยคำนึงถึงบริบทสังคมและพื้นฐานทางวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ เพื่อให้ระบบการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนองค์ประกอบต่าง ๆ ในโครงสร้างทางการเมือง ทั้งพรรคการเมือง ผู้แทนประชาชน และเสถียรภาพของรัฐบาล ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างมีประสิทธิผลเป็นไปตามครรลองของประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย นำสู่ความปรองดองและความเจริญงอกงามแห่งประชาธิปไตยสืบต่อไปในการศึกษาครั้งนี้ผู้เขียนเห็นว่า ควรนำระบบการเสือกตั้งแบบสัดส่วนผสมมาปรับใช้ในประเทศไทย โดยเป็นการผสมระหว่างระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมตาแบบเขตเดียวคนเดียว กับระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อโดยแบ่งประเทศออกเป็นเขตเลือกตั้งตามเขตการปกครองที่ชัดเจนแน่นอน แต่ละเขตไม่จำเป็นต้องมีจำนวนประชากรเท่ากัน แต่ต้องให้ความเสมอภาคในการเป็นตัวแทนตามสัดส่วนประชากร และควรกำหนดอัตราส่วนระหว่างสมาชิกแบบแบ่งเขตกับสมาชิก ประเภทบัญชีรายชื่อให้มีจำนวนที่ไต้สัดส่วนต่อกันหรือเป็นจำนวนเท่ากัน อีกทั้งรัฐควรเตรียมความพร้อมในต้านต่าง ๆ เช่น ด้านกฎหมาย ต้านองค์ความรู้ การบริหารจัดการการเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ตลอดจนการปลูกจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนทุกคนอีกด้วย
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา
    เดโช ชนะสุวรรณ์; ปุ่น วิชชุไตรภพ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    การศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับมาตรการควบคุม รถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราของสหพันธรัฐมาเลเซีย สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เปรียบเทียบกับประเทศไทย ศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และประมวลกฎหมายอาญา เพื่อเสนอแนะและหาแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติม หรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราให้เป็นรูปธรรม เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าการกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรามี ปัญหาอยู่หลายประการ กล่าวคือ ประการแรก เนื่องด้วยบทบัญญัติมาตรา 61 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 กำหนดให้ประกาศของผู้อ้านวยการทางหลวงนั้นต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมทางหลวงส้าหรับทางหลวงพิเศษทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมทางหลวงชนบทสำหรับทางหลวงชนบท และต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับทางหลวงท้องถิ่น แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติในการออกประกาศห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนดหรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหายนั้นมีหลายบุคคลแตกต่างกันไปตามสายทางที่รับผิดชอบโดยเป็นอิสระจากกัน การบัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ในลักษณะดังกล่าวนี้ทำให้การดำเนินการออกประกาศไม่มีความเป็นเอกภาพ เกิดความซ้ำซ้อนขององค์กรในการออกประกาศประการที่สอง เนื่องจากทางหลวงของประเทศไทยมีหลายประเภท และแต่ละประเภทอยู่ในความรับผิดชอบคนละหน่วยงาน กล่าวคือ ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทานอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ทางหลวงชนบทอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท และทางหลวงท้องถิ่นอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ประกาศห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนด หรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหายตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 มีประกาศหลายฉบับซึ่งมีความซ้ำซ้อนกัน และอาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจในการกำหนดพิกัดบรรทุกของผู้มีอำนาจแตละรายในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งผลจากการบัญญัติกฎหมายในลักษณะดังกล่าว เกิดความซำ้ซ้อนของอำนาจ ย่อมท้าให้เกิดความสับสนและไม่เป็นธรรมแก่ ประชาชนผู้ขับขี่รถยนต์บรรทุกบนทางหลวงได้เพราะทางหลวงแต่ละประเภทเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายกันประการที่สาม การกำหนดในมาตรา 73/2 ของพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 บัญญัติโทษทางอาญาของผู้บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราไว้เพียงการจำคุก 6 เดือน หรือปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งถือว่าต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน และมิได้บัญญัติถึงการลงโทษต่อผู้ประกอบการขนส่งซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการก่อให้เกิดการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวขึ้น ตลอดจนไม่ได้บัญญัติถึงการริบทรัพย์สินอันได้แก่รถยนต์บรรทุกซึ่งใช้ในการกระทำความผิดไว้เป็นการเฉพาะ ทำให้ศาลต้องวินิจฉัยโดยใช้หลักการทั่วไปตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 32 และ 33 ซึ่งศาลอาจใช้ดุลพินิจที่จะไม่ริบรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่งเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด ทั้งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติถึงการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ตามมาตรา 64 ทำให้การบังคับใช้กฎหมายของฝ่ายปกครองนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และส่งผลให้ยังคงพบการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวขึ้นต่อไปผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนี้ ประการที่หนึ่งควรกำหนดห้ามใช้ยานพาหนะบนทางหลวงโดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุก หรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ไว้ในพระราชบัญญัติ หรือกฎกระทรวง เพื่อให้มีกฎหมายหลักเพียงฉบับเดียวประการที่สองแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 61 ให้ผู้อำนวยการทางหลวงออกประกาศห้ามใช้ยานพาหนะบนทางหลวงโดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่กำหนด หรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหาย ตามสภาพภูมิประเทศ หรือลักษณะของถนนเท่าที่ไม่ขัดกับกฎหมายหลัก ประการที่สามแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 73/2 โดยเพิ่มโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนประกาศห้ามใช้ยานพาหนะบนทางหลวงโดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้าหนักลงเพลาเกินกว่าที่ก้าหนด หรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหายให้สูงกว่าอัตราโทษเดิม ส่วนจะเป็นโทษเท่าใดจะต้องการศึกษาต่อไป ประการที่สี่ควรบัญญัติเพิ่มเติมพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 ให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถขออนุญาตเพิ่มน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดได้แต่ต้องไม่เกินกว่าอัตราน้ำหนักสูงสุดที่ก้าหนดไว้ และต้องจ่ายค่าธรรมเนียมส่วนเกินของน้ำหนักตามสัดส่วนที่กำหนด หากบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่ขออนุญาตก็จะถูกลงโทษตามกฎหมาย ประการที่ห้าควรบัญญัติเพิ่มเติมพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 ให้ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่ง เป็นต้นเหตุหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ประการที่หกควรเพิ่มเติมเรื่องการริบทรัพย์สิน ซึ่งได้แก่ รถยนต์บรรทุกที่ถูกใช้ในการกระทำความผิดเป็นการเฉพาะในพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 ทั้งนี เพื่อจำกัดมิให้ศาลใช้ดุลพินิจในการมีค้าสั่งริบหรือไม่ริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา ประการที่เจ็ดกำหนดให้ผู้ประกอบการที่ต้องขนส่งสินค้าติดตั้งเครื่องชั่งน้ำหนักบริเวณสถานประกอบการเพื่อควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกสินค้าก่อนนำรถออกไปวิ่งบนทางหลวง ประการที่แปดกำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทุกรายต้องจัดทำใบกำกับ สินค้าระบุน้ำหนักบรรทุก ประการสุดท้ายนำระบบเทคโนโลยีในการตรวจวัดน้ำหนักรถยนต์บรรทุกมาใช้ เช่น ระบบ Slow Speed WIM (SSWIM) และ ระบบ IT
  • Thumbnail Image
    Item
    การควบคุม กำกับดูแลเอกชนจัดทำบริการสาธารณะโดยรัฐ
    เกริกเกียรติ ทิพย์ชัย; พัชรวรรณ นุชประยูร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิดและกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดทํา บริการสาธารณะที่รัฐให้เอกชนจัดทําหรือร่วมจัดทํา 2. ศึกษาอํานาจหน้าที่การควบคุม กํากับดูแลในการให้เอกชนจัดทําบริการสาธารณะ 3. ศึกษาเปรียบเทียบการควบคุม กํากับดูแลเอกชนจัดทําบริการสาธารณะกฎหมายต่างประเทศกับกฎหมายไทยวิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาหลักการพื้นฐาน แนวคิดทฤษฎีและพัฒนาการของการควบคุม กํากับดูแลเอกชนจัดทําบริการสาธารณะโดยรัฐ ส่วนที่สอง เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการควบคุม กํากับดูแลเอกชนจัดทําบริการสาธารณะโดยรัฐในระบบกฎหมายไทยและระบบกฎหมายต่างประเทศที่ผู้วิจัยเห็นว่ามีความสําคัญ พบว่า 1. การปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุม กํากับดูแลเอกชนจัดทําบริการสาธารณะโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น บริการสาธารณะบางประเภทยังไม่มีกฎหมายกําหนดโดยเฉพาะให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุม กํากับดูแลเอกชนจัดทําบริการสาธารณะทําและการควบคุม กํากับดูแลนั้นเป็นเพียงการควบคุม กํากับดูแลโดยคู่สัญญาทําให้มักเกิดการละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐแต่ไม่มีความผิดเกิดขึ้น 2. การใช้เอกสิทธิ์ของรัฐเหนือเอกชนในการจัดให้เอกชนจัดทําบริกาสาธารณะยังขาดหลักเกณฑในการแก้ไขและบอกเลิกสัญญาและกฎหมายให้อํานาจคู่สัญญาฝ่ายรัฐในการมีเอกสิทธิ์มากเกินไปรวมถึงการขาดความชัดเจนในการให้อํานาจคู่สัญญาฝ่ายรัฐในการบอกเลิกสัญญา จนทําให้ใช้เอกสิทธิ์ในการแก้ไขและบอกเลิกสัญญาตามอําเภอใจและไม่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ 3. การควบคุม กํากับดูแลนั้นมักจะขาดประสิทธิภาพเนื่องจากการไม่มีองค์กรกลางที่จะเข้าไปตรวจสอบการควบคุม กํากับดูแลและไม่มีการดําเนินการทางกฎหมายกับบุคคลที่มีอํานาจในการควบคุม กํากับดูแล แม้บุคคลนั้นจะละเลยในการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจหน้าที่ไปในทางที่มิชอบก็ตาม 4. ความสัมพันธ์ทางกฎหมายในการตรวจสอบหรือติดตามการจัดทําบริการสาธารณะทั้งในความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางกับองค์กรที่ได้รับอํานาจตามหลักการกระจายอํานาจและความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญาฝ่ายรัฐกับคู่สัญญาฝ่ายเอกชนการกําหนดความสัมพันธ์ในบทบัญญัติทางกฎหมายยังไม่ไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาทั้ง 4 ประการดังกล่าว ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหา คือ 1. การตั้งคณะกรรมการกลางในการควบคุม กํากับดูแลการจัดทําบริการสาธารณะโดยเอกชนในบริการสาธารณะประเภทการให้เอกชนเดินรถร่วมกับรัฐและสัญญาจ้างก่อสร้างของทางราชการ 2.การเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการแก้ไขสัญญาในระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535หรือร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐและการเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการบอกเลิกสัญญาในระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 หรือร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ รวมถึงเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายในพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 3. แก้ไขระเบียบองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพว่าด้วยการบริหารจัดการและกํากับดูแลรถโดยสารเอกชนร่วมบริการ พ.ศ. 2550 ให้มีการกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชนคู่สัญญาในการกํากับดูแลเป็นการควบคุมดูแล
  • Thumbnail Image
    Item
    มาตรการคุ้มครองโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุและรูปแบบกองทุนสะสมทรัพย์กรณีชราภาพ
    อรรถวัฒน์ พูนสวัสดิ์; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    จากสภาพสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากแต่ก่อนอัตราการเกิดลดน้อยลงและอัตราการมีอายุ เฉลี่ยสูงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยเข้าสู้สภาวะสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งในอนาคตจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เต็มรูปแบบตามการประเมินขององค์การสหประชาชาติแต่กฎหมายแรงงานของประเทศไทยยังไม่มี กฎหมายฉบับใดที่ให้หลักประกันการทำงานแก่ลูกจ้างเอกชน อีกทั้งปัญหาการเกิดสิทธิตาม ประกันสังคมที่ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคม และกองทุนชราภาพที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง หลังเกษียณยังไม่ครอบคลุมกลุ่มลูกจ้างในระบบได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อการดำรงชีพ วิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายแรงงานและสวัสดิการของลูกจ้าง ภายหลังเกษียณ โดยแบ่งเป็นสี่ประเด็น คือ 1. ปัญหาการกำหนดเกณฑ์อายุการทำงานของลูกจ้าง ภาคเอกชน 2. การเลือกปฏิบัติทางด้านอายุ 3. ปัญหาการเกิดสิทธิตามประกันสังคมและการจำกัด สิทธิเข้าประกันตนสำหรับผู้ที่เข้าทำงานใหม่ภายหลังอายุ 60 ปี 4. ปัญหากองทุนการออมเพื่อการชรา ภาพของไทยตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พระราชบัญญัติประกันสังคม พระราชบัญญัติ การออมแห่งชาติ กฎหมายแรงงานของไทยที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดอายุเกษียณของลูกจ้างภาคเอกชนยัง ไม่มีระบุไว้อย่างชัดเจนทั้งใน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และพระราชบัญญัติ ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ปัจจุบันนี้ใช้เกณฑ์อายุเกษียณตามพระราชบัญญัติประกันสังคม และ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ คือเกษียณที่อายุ 55 ปี และ 60 ปี ทำให้ลูกจ้างไม่มี หลักประกันการทำงานที่เป็นมาตรฐานชัดเจน อีกทั้งอายุการทำงานไม่สอดคล้องกับสภาพสังคม ผู้สูงอายุในปัจจุบัน กล่าวคือ เป็นเกณฑ์อายุที่ต่ำกว่าสมรรถภาพการทำงานของประชากรสูงอายุใน ประเทศไทย ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนกำลังแรงงานในตลาดแรงงานและก่อให้เกิดอัตราการพึ่งพิง และเกื้อหนุนต่อวัยแรงงาน ที่ต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุสูงขึ้น ปัญหานี้จึงต้องมีการแก้ไขเรื่อง เกณฑ์อายุเกษียณให้ทันต่อสภาพสังคม รวมถึงการให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างสูงอายุให้สามารถ ทำงานโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติด้านอายุ ซึ่งกฎหมายในประเทศไทยไม่ได้ให้ความคุ้มครองใน เรื่องนี้เอาไว้จึงมีความจำเป็นจะต้องศึกษาเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เหล่านี้เพื่อแก้ไขกฎหมายแรงงานของ ประเทศไทยในส่วนปัญหาการเกิดสิทธิ ณ ปัจจุบันตามประกันสังคมได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิรับบำเหน็จ บำนาญที่อายุ 55 ปี การเกิดสิทธิที่เร็วในประกันสังคม ส่งผลให้เกิดผลกระทบ คือ ทำให้กองทุน ประกันสังคมขาดเสถียรภาพและไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในอนาคต เพราะต้องจ่ายเงินเร็วและนานขึ้น จากอายุเฉลี่ยของลูกจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การกำหนดเกณฑ์รับสิทธิควรจะอยู่ในช่วงที่เหมาะสม และให้มีการแบ่งแยกการรับสิทธิออกเป็นสองช่วงคือสิทธิแรกเริ่มและสิทธิรับเต็มจำนวน โดยเกณฑ์ การรับสิทธิ ณ ปัจจุบันของประเทศไทย เมื่อเทียบกับต่างประเทศถือว่าเร็วมากกว่าทุกประเทศไม่ว่า จะเป็นประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนีหรือ สิงคโปร์ที่กำหนดไว้ที่ 60-65 ปี หรือในบาง ประเทศกำหนดถึง 70 ปีนอกจากนั้นการคุ้มครองลูกจ้างที่เข้ามาทำงานใหม่ภายหลังอายุ 60 ปีและ ไม่เคยเป็นผู้ประกันตนมาก่อน เกิดปัญหาว่าไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้ประกันตนได้ ทำให้บุคคลกลุ่มนี้ ไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการของประกันสังคม อีกทั้งสำนักงานประกันสังคมไม่สามารถเก็บเงินสะสม เข้ากองทุนจากบุคคลเหล่านี้ได้ ปัญหาต่างๆเหล่านี้จึงส่งผลเสียแก่ตัวลูกจ้างและกองทุนประกันสังคม ในประเด็นสุดท้ายคือเรื่องปัญหากองทุนชราภาพ ประเทศไทยมีการจัดกองทุนให้แก่ลูกจ้าง ภาคเอกชนที่มีลักษณะแตกต่างกัน ซึ่งกองทุนประกันสังคมเป็นกองทุนที่ให้สวัสดิการขั้นพื้นฐานแก่ ลูกจ้างตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ จึงอยู่ในรูปแบบบังคับและมีการแบ่งเงินสะสมออกเป็น แต่ละด้านตามสวัสดิการด้านต่าง ๆ ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนในรูปแบบสมัครใจที่ นายจ้างจะจัดสรรให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับสถานประกอบการที่มีความสามารถเพียงพอที่จะ จัดกองทุนให้แก่ลุกจ้างได้ส่วนลูกจ้างในสถานประกอบการที่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะไม่ได้รับ สวัสดิการที่เป็นประโยชน์ตรงนี้จากกองทุน อีกหนึ่งกองทุนคือกองทุนการออมแห่งชาติที่เรียกได้ว่า เป็นกองทุนภาคประชาชนสำหรับคนทำงานอิสระ ที่ไม่ได้รับผลประโยชน์จากกองทุนใด ๆ สามารถ เป็นสมาชิกในกองทุนนี้โดยรัฐมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการออม ให้มีสิทธิรับบำนาญได้หากสะสมครบตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อพิจารณาจากทั้งสามกองทุนแล้วการ สะสมทรัพย์เพื่อใช้หลังเกษียณของลูกจ้างในระบบยังมีความเหลื่อมล้ำกันระหว่างลูกจ้างที่มีกองทุน สำรองเลี้ยงชีพและไม่มี คุณภาพชีวิตหลังเกษียณจากสวัสดิการของกองทุนที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการ ดำรงชีพในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เพราะไม่มีการสะสมทรัพย์ที่เป็นการสะสมเพื่อกรณีชราภาพ โดยเฉพาะทำให้จำนวนเงินที่ได้รับหลังเกษียณไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงต้องมีการศึกษาเพื่อหาแนว ทางแก้ไขโดยเปรียบเทียบกับกองทุนชราภาพของสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนีและสิงคโปร์
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัญหากฎหมายอุทยานแห่งชาติที่กระทบต่อสิทธิชุมชนของชาวเลในแถบพื้นที่ทะเลอันดามัน
    โมระติ เทพเดชา; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    การศึกษาเรื่องปัญหากฎหมายอุทยานแห่งชาติที่กระทบต่อสิทธิชุมชนของชาวเลในแถบพื้นที่ทะเลอันดามันมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาความสำคัญของปัญหากฎหมายอุทยานแห่งชาติกับสิทธิชุมชนของชาวเลในแถบพื้นที่ทะเลอันดามัน 2. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา แนวคิดและทฤษฎีสำคัญของสิทธิชุมชนและอุทยานแห่งชาติของไทย 3. เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายของต่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิชุมชน 4. เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิชุมชนของชาวเลเพื่อปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติและค้นหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาของชาวเลให้ดำรงวิถีชีวิตดั้งเดิมสืบไปคู่กับการอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติในแถบทะเลอันดามัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาปัญหากฎหมายอุทยานแห่งชาติที่กระทบต่อสิทธิชุมชน ของชาวเล ซึ่งมีเพียง 2 ประเด็นที่เกี่ยวข้อง คือ ประเด็นแรกเกี่ยวกับปัญหาชาวเลถูกจับกุมจากการทำประมงด้วยวิถีดั้งเดิมในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และประเด็นที่สองเกี่ยวกับปัญหาชาวเลไม่มีสิทธิในการอยู่อาศัยในที่ดินและถูกขัดขวางมิให้ประกอบพิธีกรรมดั้งเดิมในเขตพื้นที่ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติในเนื้อหาจึงจะกล่าวถึงการรับรองสิทธิชุมชนในกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลียและประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์เรื่องสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิในการครอบครองที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติตลอดจนกฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสวงหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาเพื่อให้การประกาศอุทยานแห่งชาติอยู่บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนโดยคำนึกถึงสิทธิชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากทรัพย์ยากรธรรมชาติตามวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมให้สืบต่อไปจากการศึกษาพบว่า ตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ประเทศออสเตรเลียและประเทศฟิลิปปินส์ มีการรับรองถึงสิทธิของชนพื้นเมืองหรือสิทธิของผู้อยู่ก่อนซึ่งมีนัยยะเดียวกับสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของไทย ดังนั้น จึงควรแก้ไขมาตรา 16แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ให้มีข้อยกเว้นให้ชาวเลอันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมมีสิทธิทำกินและอยู่อาศัยตลอดจนประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติได้ กล่าวคือประเด็นแรกเกี่ยวกับปัญหาชาวเลถูกจับกุมจากการทำประมงด้วยวิถีดั้งเดิม จากการวิเคราะห์สรุปได้ว่าพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นนานแล้วไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ซึ่งมีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติในแถบพื้นที่ทะเลอันดามันหลายแห่ง อันเนื่องมาจากอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ และการมีข้อกำหนดห้ามมิให้บุคคลการทำการต่าง ๆ ภายในเขตอุทยานแห่งชาติไว้ในมาตรา 16 รวมถึงการห้ามจับสัตว์น้ำภายในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ภายหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้มีการบัญญัติรองรับถึงสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมไว้ให้ใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นนั้นได้และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ตลอดถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน ก็ยังคงบัญญัติรับรองสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมไว้เรื่อยมา จึงควรแก้ไขพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญโดยมีข้อยกเว้นให้ชาวเลอันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมมีสิทธิในการจัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน กล่าวคือ ให้ชาวเลมีสิทธิทำกินโดยการทำประมงในเขตพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติได้ ประเด็นที่สองเกี่ยวกับปัญหาที่ชาวเลไม่มีสิทธิในการอยู่อาศัยในที่ดินและถูกขัดขวางมิให้ประกอบพิธีกรรมดั้งเดิมในเขตพื้นที่ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ จากการวิเคราะห์สามารถสรุปสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ประการแรก คือ การประกาศเป็นเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับที่อยู่อาศัยของชาวเลแต่เดิมและพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ห้ามมิให้ยืดถือครอบครองที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ ดังนั้น จึงควรแก้ไข พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ให้ชาวเลสามารถถือครองที่ดินได้โดยมีกรรมสิทธิ์ในลักษณะของการออกโฉนดชุมชน ประการที่สอง การที่เอกชนเบียดบังเอาที่ดินซึ่งเป็นที่สุสานของชาวเลไปออกเอกสารสิทธิ์ ทำให้ชาวเลไม่มีพื้นที่สุสานตลอดจนกระประกอบพิธีกรรมดั้งเดิมควรแก้ไขโดยให้มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งเขตวัฒนธรรมพิเศษเพื่ออนุรักษ์วิถีชีวิตชาวเลอันเป็นชุมชนดั้งเดิมให้อยู่คู่กับทะเลอันดามันสืบไป
  • Thumbnail Image
    Item
    หลักความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ ศึกษากรณีการบริหารสัญญาทางปกครอง
    สิรชา วังวงศ์; พัชรวรรณ นุชประยูร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับเรื่องหลักความต่อเนื่อง ในการจัดทำบริการสาธารณะศึกษากรณีการบริหารสัญญาทางปกครองในประเทศไทย ซึ่งโดยปกติแล้วในการจัดทำสัญญาทางปกครองที่มีลักษณะเป็นบริการสาธารณะจำเป็นต้องยึดหลักความต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากถือเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์สาธารณะแก่ประชาชนเพื่อรับรองสิทธิว่าตนจะได้รับการให้บริการสาธารณะอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาพบว่า การบริหารสัญญาทางปกครองอันมีลักษณะเป็นการจัดทำบริการสาธารณะในประเทศไทยขาดหลักเกณฑ์การจัดการบริการสาธารณะให้มีความต่อเนื่อง การขาดมาตรการหรือกลไกที่จะเข้ามาเป็นตัวกำหนดแนวทางหรือขั้นตอนในการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรมการขาดกฎหมายข้อบังคับว่าหากเกิดกรณีพิพาทระหว่างคู่สัญญาขึ้นแล้วผู้ใดจะเป็นผู้มีหน้าที่เข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหา จากปัญหาการขาดระบบการจัดการบริการสาธารณะอย่างต่อเนื่องนี้ ส่งผลให้ในสัญญาทางปกครองเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย บริการสาธารณะที่ถูกจัดทำขึ้นตามสัญญานั้นมักถูกละทิ้งจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะ กรณีปัญหาต่างๆ เหล่านี้ นอกจากฝ่ายปกครองจะมีหน้าที่ดำเนินการตามสัญญาในฐานะคู่สัญญาแล้ว ฝ่ายปกครองยังอยู่ในฐานะซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ก ากับดูแลให้บริการสาธารณะสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง อันเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของฝ่ายปกครองผู้ใช้อำนาจรัฐด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้การจัดทำบริการสาธารณะเหล่านี้มีความต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ฝ่ายปกครองควรจัดหาแนวทางหรือมาตรการมาใช้ในการควบคุมกำกับดูแลการดำเนินบริการสาธารณะให้มีความต่อเนื่อง ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาออกเป็นสองส่วน ดังต่อไปนี้ ส่วนที่หนึ่ง ข้อเสนอแนะทางกฎหมาย ในการนำหลักเกณฑ์เรื่องของการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินบริการสาธารณะ แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐพ.ศ.2556 เข้ามาเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อปรับใช้ในการแต่งตั้งให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลสัญญาบริการสาธารณะ และให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบติดตามกำกับดูแลโครงการตลอดจนพิจารณาเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการบรรลุวัตถุประสงค์ในการกำหนดมาตรการบริหารสัญญาบริการ สาธารณะอย่างต่อเนื่องให้เป็นรูปธรรมและให้การดำเนินการดังกล่าวมีกรอบการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานกลางเพื่อให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติ จึงควรดำเนินการด้วยวิธีการเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการในเรื่องของการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินบริการสาธารณะเข้าไว้ในร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ โดยลำดับ ดังนี้ 1. กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลติดตามผลของสัญญาบริการสาธารณะ ทั่วไปที่มีมูลค่าโครงการตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ เว้นแต่โครงการที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 และกฎหมายอื่น ซึ่งองค์ประกอบของคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผล อย่างน้อยควรกำหนดให้มี ดังนี้1) ผู้แทนของกระทรวงการคลัง 2) ผู้แทนของกระทรวงเจ้าสังกัดที่มิใช่หน่วยงานเจ้าของโครงการ 3) ผู้แทนของสำนักงานอัยการสูงสุด 4) ผู้แทนของหน่วยงานเจ้าของโครงการ ทั้งนี้ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญพิเศษที่จะเป็นประโยชน์ในการกำกับดูแลและติดตามผลแก่การดำเนินโครงการนั้น ๆ ด้วย 2. กำหนดให้คณะกรรมการก ากับดูแลมีอำนาจหน้าที่ติดตามกำกับดูแลให้มีการดำเนินงานตามที่กำหนดในสัญญา ติดตามแผนการปฏิบัติตามสัญญาและแผนการจัดการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน พิจารณาเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานต่อหน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของงาน 3. กำหนดให้มีบทลงโทษแก่คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและติดตามผลของบริการสาธารณะในกรณีที่มีการละเลย หรือเพิกเฉยจนทำให้สัญญาบริการ สาธารณะดังกล่าวนั้นขาดความต่อเนื่องส่วนที่สอง ข้อเสนอแนะในเรื่องของการดำเนินโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายมหาชนว่าด้วยเรื่องของประโยชน์สาธารณะซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินการบริหารสัญญาบริการสาธารณะที่คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสำคัญ มีการวางแผนการดำเนินงานและมีการประเมินผลการปฏิบัติงานซึ่งจะก่อให้เกิดความคุ้มค่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหาร อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชนและก่อให้เกิดผลดีกับการจัดทำบริการสาธารณะของภาครัฐ ให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป จึงขอเสนอแนะแนวทางในการนำหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้เข้าไปกำหนดไว้ในช่วงท้ายของสัญญาการจัดทำบริการสาธารณะให้เป็นรูปธรรม ดังนี้ 1. กำหนดให้มีการนำหลักดุลยภาพทางการเงินเข้ามาใช้ในการบริหารสัญญาบริการ สาธารณะกรณีที่เกิดเหตุที่ไม่อาจคาดหมายทางการเงินแก่คู่สัญญาฝ่ายเอกชน 2. กำหนดให้มีการนำมาตรการการจัดการแทนหรือการจัดหาบุคคลอื่นเข้ามาดำเนินการแทน ในกรณีที่เกิดเหตุไม่อาจคาดหมายทำให้การบริหารสัญญาบริการสาธารณะสะดุดหยุดลง แม้ว่าข้อกำหนดในหลักดุลยภาพทางการเงินและมาตรการการจัดการแทนนี้จะเป็น หลักเกณฑ์ที่เป็นหลักทั่วไปและมีอยู่แล้ว แต่เมื่อมิได้มีการนำมาบัญญัติไว้เป็นรูปธรรมจึงไม่ได้มีการนำมาใช้ ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงขอเสนอให้มีการนำหลักเกณฑ์สองทั้งหลักดังกล่าวมานี้ เข้ามาเขียนระบุไว้ในตอนท้ายของสัญญาทางปกครองอันเกี่ยวด้วยการจัดทำบริการสาธารณะ ในกรณีที่เกิดเหตุที่ไม่อาจคาดหมายทางการเงิน หรือเหตุไม่อาจคาดหมายทำให้การบริหารสัญญาบริการสาธารณะสะดุดหยุดลง ให้คณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผล หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและติดตามผลของบริการสาธารณะนั้น มีอำนาจนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวเข้ามาใช้เพื่อเป็นการแก้ไขต่อปัญหาดังกล่าวได้
  • Thumbnail Image
    Item
    มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับคุณภาพโรงพยาบาลเอกชน
    กมลพร ธนพรโชคชัย; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    เนื่องจากประเทศไทยต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่เกี่ยวเนื่องกับการเปิดเสรีทางการค้าบริการใน สาขา ธุรกิจบริการสุขภาพเรื่องการจัดทำความตกลงการค้าบริการของอาเซียนและการทำข้อตกลง การยอมรับร่วมกันของสาขาการบริการสุขภาพของประชาคมอาเซียน และต้องก้าวไปสู่การรับรอง คุณภาพและมาตรฐานระดับนานาชาติ พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 เป็นกฎหมายที่ควบคุมดูแลสถานพยาบาลและใช้ บังคับมานานแล้ว ซึ่งสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีทาง การแพทย์ พฤติกรรมผู้รับบริการ การคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยในด้านการรักษา การให้ข้อมูลข่าวสาร การโฆษณา อัตราค่าบริการและการชดใช้เยียวยาสิทธิต่าง ๆ การดำเนินการหยุดดำเนินการ การระงับดำเนินการ การเพิกถอนใบอนุญาต จะกระทำต่อเมื่อได้รับการร้องเรียนหรือดำเนินการหลังจาก มีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว มาตรการพิจารณาควบคุมกำหนดคุณภาพมาตรฐานหรือหาทางป้องกัน หรือประกันคุณภาพบริการ วิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาใน 3 ประเด็นด้วยกัน คือ 1. มาตรการทาง กฎหมายในการควบคุมกำกับและส่งเสริมสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล 2. มาตรการทางกฎหมายที่ เหมาะสมเพื่อการควบคุมกำกับและส่งเสริมสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล 3. มาตรการทางคุณภาพ ในการควบคุมกำกับและส่งเสริมสถานพยาบาล ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางแก้ไขในการควบคุมมาตรฐาน และคุณภาพของสถานพยาบาล เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับการบริการด้านสาธารณสุขอย่างเป็นธรรม ในประเด็นแรก ปัญหาการควบคุมกำกับการจัดตั้งและภายหลังการได้รับใบอนุญาติหรือ ใบอนุญาตดำเนินการ กรณีที่ผู้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ควรที่จะมี กรรมการผู้จัดการที่เป็นเจ้าของจริงมีส่วนร่วมลงทุนจริงและต้องกำหนดว่าต้องเป็นแพทย์ หรือ ผู้มี ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะเข้ามาบริหารงานในโรงพยาบาล จรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อจะช่วยลด ปัญหาการบริหารงานแบบแสวงหากำไรเกินควรตามที่เป็นปัญหาร้องเรียนเรื่องค่ารักษาพยาบาลที่ แพง ส่วนในกรณีที่ผู้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชน น่าจะมีกฎระเบียบพิเศษใน การที่จะควบคุมกิจการโรงพยาบาลที่ดำเนินการในตลาดหลักทรัพย์ กระทรวงสาธารณสุขและตลาด หลักทรัพย์จะต้องหามาตรการ หรือกฎ ระเบียบ เพื่อคุ้มครองประชาชนเพราะยังไม่มีกฎหมายฉบับใด เลยที่จะควบคุมในเรื่องนี้ มาตรการทางกฎหมายในด้านการควบคุมกำกับและส่งเสริมในเรื่องของภายหลังจากที่ได้รับ อนุญาตการจัดตั้งและดำเนินสถานพยาบาล ควรที่จะมีคณะกรรมการในการพิจารณาเรื่องของคุณภาพเพิ่มอำนาจก่อนให้ใบอนุญาตและหลังจากได้รับใบอนุญาต ให้มีการติดตามหลังจากให้ ใบอนุญาตเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อัตรากำลังเจ้าหน้าที่เฝ้าคอยกำกับดูแล และอำนาจ การสั่งลงโทษสถานพยาบาลควรเพิ่มโทษ สถานพยาบาลที่คิดจะกระทำผิดจะมีความเกรงกลัวต่อโทษ ดังกล่าว ส่วนในด้านการชดใช้เยียวยาในกรณีที่ผู้รับบริการเข้ารับบริการจากสถานพยาบาล หาก ผู้รับบริการได้รับความเสียหายและต้องการที่จะได้รับการชดเชยความเสียหาย จะนำเรื่องเรียกร้อง ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งผู้เสียหายได้รับประโยชน์จากการพิจารณาคดีในเรื่องทุนทรัพย์ ระยะเวลาการพิจารณาที่รวดเร็วกว่าการฟ้องคดีในศาล หรือ นำแนวคิดการประกันวินาศภัยของกลุ่ม วิชาชีพ (Malpractice Insurance) มาใช้เพื่อป้องกันการถูกฟ้องร้องของผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งวิธีนี้จะ เป็นการแบ่งเบาภาระการเกิดคดีฟ้องร้องขึ้นระหว่างผู้ป่วยกับสถานพยาบาลหรือแพทย์ ในประเด็นที่สอง การควบคุมกำกับและส่งเสริมสถานพยาบาล ในปัญหาด้านค่า รักษาพยาบาลแพงเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อผู้รับบริการมาก ซึ่งตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มิได้กำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลไว้ จึงก่อให้เกิดปัญหาด้านราคาบริการที่แพงเกิดขึ้น เห็นสมควรที่น่าจะต้องมีการปรับปรุงด้านราคาค่าบริการให้มีการกำหนดขึ้นในพระราชบัญญัติ สถานพยาบาล พ.ศ.2541 เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ารับบริการจากสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาล ต่อไป โดยเสนอมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมราคาค่าบริการโดยจัดให้มี คณะกรรมการ ค่าบริการรักษาพยาบาล ทำหน้าที่ในการพัฒนาและประสานงานและดำเนินการ ที่ประกอบด้วย ภาครัฐและเอกชนร่วมกันบริหารงาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล เพราะการจะใช้มาตรการทางกฎหมายในการที่จะลงโทษโดยส่วนเดียวย่อมไม่สามารถควบคุมราคา ค่าบริการทางการแพทย์ได้ ถ้ามีคณะกรรมการฯที่จะประสานทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนขึ้นมา เพื่อกำหนดมาตรการทางสาธารณสุขตามความเหมาะสมทางกฎหมาย ปัญหาด้านความเหมาะสมของ ราคาค่ารักษาพยาบาลน่าจะเกิดความเป็นธรรมมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ประเด็นสุดท้าย ประเด็นด้านคุณภาพของสถานพยาบาล ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วย คุณภาพของสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลโดยตรงมากำกับหรือบังคับใช้ มีแต่พระราชบัญญัติบาง ฉบับที่มีลักษณะการคุ้มครองประชาชนที่ใกล้เคียงในเรื่องคุณภาพมาปรับใช้ อาทิเช่น พระราชบัญญัติ สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2540 ดังนั้นจึงควรจะมีมาตรการการพิจารณาคุณภาพของโรงพยาบาลเพื่อที่จะ ช่วยกลั่นกรองการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอตั้งและผู้ดำเนินการที่จะอนุมัติออกใบอนุญาต เพราะจะได้ มีสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น จึงเห็นควรตั้งคณะกรรมการพิจารณามาตรฐานคุณภาพของ โรงพยาบาลขึ้นมาใหม่ ซึ่งอาจจะใช้บังคับกับโรงพยาบาลของเอกชนที่จะเกิดขึ้น ใหม่ หรือ โรงพยาบาลเอกชนเก่าที่มีใบอนุญาตอยู่แล้วและใบอนุญาตจะหมดลงจะขอต่อใบอนุญาตใหม่ ต้องเข้า ลักษณะหรือมีคุณสมบัติหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการพิจารณามาตรฐานคุณภาพของ โรงพยาบาลที่กำหนดขึ้นมา ซึ่งจะทำให้มาตรฐานของโรงพยาบาลมีคุณภาพมากขึ้น โรงพยาบาลที่จะ ตั้งขึ้นใหม่ต้องมีแผนงานด้านคุณภาพมาตรฐานของโรงพยาบาลที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วสมควร ให้ใบอนุญาต ซึ่งอาจจะให้สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพของโรงพยาบาล (ส.ร.พ.) เป็นหน่วยงาน หลักในการกำหนดแผนรูปแบบและยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลคุณภาพว่าควรมีหลักเกณฑ์อย่างไรใน เบื้องต้น
  • Thumbnail Image
    Item
    กฎหมายคุ้มครองสิทธิของข้าราชการพลเรือนที่เป็นผู้ค้ำประกัน: ศึกษาเฉพาะกรณี ข้าราชการพลเรือนเป็นผู้ค้ำประกันที่เป็นบุคคลล้มละลาย
    ศีรวิษ สุขชัย; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    จากการศึกษาวิจัย เพื่อหาแนวทางการพิจารณาคุณสมบัติข้าราชการพลเรือนขณะรับ ราชการพลเรือนที่เป็นบุคคลล้มละลาย เฉพาะบุคคลนั้นเป็นเพียงผู้ค้ําประกัน โดยกําหนดคุณสมบัติ ของบุคคลที่จะเข้ารับราชการไว้ทุกระดับตําแหน่งและประเภทตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนไว้ ประการหนึ่งว่า ข้าราชการเมื่อรับราชการเข้ามาแล้วนั้น หากเมื่อใดก็ตามตกเป็นบุคคลล้มละลาย จะต้องออกจากราชการทันทีโดยบทบัญญัติดังกล่าวมีสภาพบังคับในลักษณะเด็ดขาด โดยไม่พิจารณา ถึงมูลหนี้อันเป็นเหตุให้บุคคลนั้นต้องตกเป็นบุคคลล้มละลาย ว่าเกิดจากการที่ข้าราชการผู้นั้น ประพฤติเสื่อมเสียในทางการเงิน จนมีหนี้สินล้นพ้นตัวและต้องตกเป็นบุคลล้มละลายหรือไม่ ผู้ศึกษาวิจัยขอเสนอแนะแนวทางการแก้ไขไว้สามแนวทางคือ แนวทางแรก ควรมีการแก้ไข โดยการเพิ่มข้อยกเว้นไว้ใน พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 โดยเพิ่มเติมบทบัญญัติของ มาตรา 110 วรรคสามว่า“การสั่งให้ออกจากราชการตามกรณี (3) เฉพาะมาตรา 36 ข.(6) ไม่ใช้บังคับ แก่กรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องคําพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายจากการเป็นผู้ค้ําประกัน” แนวทางที่สอง ควรจะมีบทบัญญัติของกฎหมายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน เปิดช่องให้ โอกาสแก่ข้าราชการ ผู้นั้นที่ศาลสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายและสั่งให้ลูกหนี้กลับมีอํานาจจัดการ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน ให้มีสิทธิขอกลับเข้ารับราชการ และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 57 มีอํานาจสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นกลับเข้าราชการใหม่ได้โดยอาศัยเหตุที่ ไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ตามมาตรา 36 ข (6) นั้นได้ส่วนแนวทางที่สาม ในกรณีข้าราชการที่ต้อง ล้มละลายจากการเป็นผู้ค้ําประกันถูกสั่งให้ออกจากราชการ ตามมาตรา 110 (3) และได้ใช้สิทธิ อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม สํานักงาน ก.พ. ในการวินิจฉัยและมีคําสั่งให้ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม สํานักงาน ก.พ. มีอํานาจสั่งให้ชะลอการให้ออกจากราชการไว้ ก่อน ในกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นได้ยื่นคําขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลาย เพื่อรอผลการประนอมหนี้ หากการประนอมหนี้เป็นผลสําเร็จ และศาลสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายและจะสั่งให้ผู้นั้นกลับมีอํานาจ จัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตน อันมีผลให้ผู้นั้นพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ให้ดุลพินิจของ ผู้บังคับบัญชาในการพิจารณาความเสียหาย ถ้าไม่ได้เกิดจากการทุจริตของผู้ค้ําประกันและถ้าผู้ค้ํา ประกันอยู่ทํางานต่อแล้วไม่ได้สร้างความเสื่อมเสียแก่หน้าที่การงานให้ใช้สิทธิในการอุทธรณ์ได้ (หาก เป็นกรณีมีคําสั่งให้ออกจากราชการแล้ว เลยขั้นตอนของแนวทางแรกจึงใช้แนวทางที่สาม)
  • Thumbnail Image
    Item
    มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและควบคุมอาคารสีเขียว
    วิธวัฒน์ บัวเผื่อน; พัชรวรรณ นุชประยูร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อความคิดทั่วไปเกี่ยวกับอาคารสีเขียว ความหมายและสภาพปัญหาเกี่ยวกับอาคารสีเขียว ศึกษาแนวคิด นโยบายและมาตรการทางกฎหมาย ในการส่งเสริมและกำกับดูแลอาคารสีเขียว ศึกษาถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายใน การส่งเสริมและกำกับดูแลอาคารสีเขียว และหาบทสรุปและข้อเสนอแนะ ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาข้อกฎหมายในการส่งเสริมและกำกับดูแลอาคารสีเขียว ปัจจุบันประเทศไทย ยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอาคารสีเขียวไว้ โดยเฉพาะ มีเพียงพระราชบัญญัติการส่งสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่มีความเกี่ยวข้องอยู่บ้างแต่กฎหมายทั้งสองฉบับยังไม่สามารถเอื้ออำนวย ต่อการบังคับใช้เกี่ยวกับอาคารสีเขียวได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องนี้ให้ มีความชัดเจนสามารถบังคับใช้กับอาคารสีเขียวให้ชัดเจนเอื้ออำนวยต่อการบังคับใช้กฎหมายให้มี ประสิทธิภาพ ดังนั้น จากปัญหาดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการควบคุมอาคารให้ควบคู่กันไปกับการ อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี ความหมายและสภาพ ปัญหาเกี่ยวกับอาคารสีเขียว และแนวคิด นโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและ กำกับดูแลอาคารสีเชียว ทั้งของประเทศไทยและต่งประเทศ โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์ ประเทศ ต้หวัน และประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นต้นแบบที่สำคัญเกี่ยวกับอาคารที่เขียว นำหลักกฎหมายของประเทศ เหล่านี้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับของประเทศไทยเพื่อให้ทราบถึงปัญหาข้อกฎหมายในการส่งเสริม และกำกับดูแลอาคารสีเขียว เมื่อศึกษาแล้วจึงได้ข้อเสนอแนะการกำหนดมาตรการทางกฎหมายใน การแก้ไขปัญหาตังต่อไปนี้ 1. ปัจจุบันในประทศไทยไม่มีกฎหมายบังคับใช้โดยเฉพาะเจาะจงทำให้ไม่สามารถบังคับใช้ กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ จึงควรแก้ไขเพิ่มเติม มาตรการในการควบคุมอาคารสีเขียวให้มีบทบังคับโทษที่ขัดเจนไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นมาตรการลงโทษ ผู้กระทำการฝ้าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อไป 2. เงื่อนไขของอาคารสีเขียวในประเทศทย ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ของประเทศไทยในปัจจุบันน้นไปในเรื่องความปลอดภัยมากกว่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงควรมีการ กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการควบคุมอาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ในกฎหมายเพื่อการควบคุม และ ให้มีความสอดคล้องกับการอนุรักษ์พลังงาน ผู้เขียนเห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 8 ใน (1) และ (2) 3. มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาคารสีเขียว มาตรการในการส่งเสริมในประเทศ ไทยไม่มีบทบังคับที่ชัดเจนในการลงโทษทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อ สิ่งแวดล้อม จึงควรหามาตรการจูงใจและส่งเสริมการลดการใช้พลังานในอาคารที่มีอยู่เดิมโดยการ ติดตั้งอุปกรณ์ช่วยลดการใช้พลังงานโดยการกำหนดอุปกรณ์ชั้นพื้นฐานที่ต้องมีในอาคารสีเขียวโดย กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และควรจัดให้มีองค์กรใน การขออนุญาตในการดำเนินการก่อสร้างโรงงานควบคุม โรงงาน อาคารควบคุม และอาคาร ซึ่งใน ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ให้อนุญาตแยกเป็นหลายหน่วยงาน ผู้เขียนจึงเห็นควรให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อดูแลการอนุญาตในการ ดำเนินการก่อสร้างโรงงานควบคุม โรงงาน อาคารควบคุม และอาคาร ซึ่งประกอบไปด้วย เจ้าหน้าที่ มาจากกระทรวงมหาดไทยสองคน เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานสองคน ให้มีหน้าเกี่ยวกับการควบคุม และอนุญาตในการดำเนินการก่อสร้าง
  • Thumbnail Image
    Item
    การคุ้มครองลิขสิทธิ์การแสดงบัลเลต์: ศึกษาเฉพาะกรณีการเต้น Classical Ballet Solo
    กิ่งกมล เบ็ญจพันธุ์ทวี; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021)
              วิทยานิพนธ์เรื่อง การคุ้มครองลิขสิทธิ์การแสดงบัลเลต์: ศึกษาเฉพาะกรณีการเต้น classical ballet solo เป็นการวิจัยปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในท่าเต้น classical ballet ที่มักถูกละเลย โดยมุ่งเน้นวิเคราะห์ปัญหาภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมวดที่ 1 ส่วนที่ 3 มาตรา 15 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิ์ทำซ้ำหรือดัดแปลงแต่เพียงผู้เดียว โดยขอบเขตของคำว่า ดัดแปลง หมายความว่า ทําซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม หรือจําลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสําคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทํางานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เนื่องจากการพิจารณาด้านการสร้างสรรค์การออกแบบท่าเต้นที่ไม่มีส่วนที่เป็นสาระสำคัญซ้ำกันเลยเป็นเรื่องที่ยากและค่อนข้างเป็นนามธรรม โดยจุดประสงค์ของการวิจัยได้แก่ 1.) เพื่อศึกษาวิวัฒนาการและการจำแนกหมวดหมู่โดยทั่วไปของท่าเต้นบัลเลต์ 2.) เพื่อศึกษากฎหมายลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวกับการดัดแปลงผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ 3.) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการออกแบบท่าเต้นที่ไม่มีส่วนสำคัญที่ซ้ำกันเลย  4.) เพื่อเสนอแนวทางในการให้ความคุ้มครองแก่งานนาฏยศิลป์ที่จะสามารถสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามระดับความคิดเห็นเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการทางด้านการแสดงบัลเลต์           ผลการวิจัยพบว่าสาระสำคัญของการแสดงของแต่ละการแสดงอยู่ที่ไหน ผู้สร้างสรรค์ควรจะกำหนดจุดที่เป็นสาระสำคัญของการแสดงที่สร้างขึ้นมาเอง สาระสำคัญที่ต้องการให้คุ้มครองคืออะไร ใช้ท่านี้ประกอบเพลง หรือใช้ท่าแบบที่ทำมากกว่ากี่จังหวะ ถือว่าลอกเลียนแบบ การจดทะเบียนจดลิขสิทธิ์ ไม่ควรแบ่งเป็นส่วนไหนสำคัญหรือไม่สำคัญ เพราะระบำโซโล่ใช้เวลาการแสดงอย่างมากก็ไม่เกิน 3 นาที จะเอาส่วนไหนเป็นสาระสำคัญอาจทำได้ยาก สุดท้ายนี้ การทำงานทางศิลปะ จริง ๆ แล้วก็ต้องมีจรรยาบรรณ เหมือนทุกอย่างที่การกระทำในโลกนี้ที่ต้องมีจรรยาบรรณ
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัญหาทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กที่ถูกกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์จนเป็นเหตุให้ฆ่าตัวตาย
    ชมชนก โพธิ์เงิน; ธนัทเทพ เธียรประสิทธิ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเด็กซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา 2) เพื่อศึกษาแนวคิด รูปแบบ และผลกระทบของการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ 3) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และประเทศฟิลิปปินส์ 4) เพื่อศึกษาความสมบูรณ์ของร่างบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์ว่าด้วยกรณีการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และ 5) เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับข้อกฎหมาย พร้อมทั้งเสนอมาตรการคู่ขนาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการคุ้มครองเด็กซึ่งเป็นผู้เสียหายจากการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ จากการศึกษาพบว่า การกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์มีลักษณะเป็นการกระทำซ้ำ ๆ ส่งผลให้ผู้ถูกกระทำได้รับผลกระทบต่ออารมณ์ จิตใจ และจุดจบอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองเด็กที่ถูกกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องบังคับใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งไม่ทันสมัย และไม่ครอบคลุมกรณีการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ ด้วยเหตุนี้จึงมีการยกร่างบทบัญญัติว่าด้วยการกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ขึ้นเป็นการเฉพาะ แต่เมื่อเปรียบเทียบบทนิยามกับกฎหมายต่างประเทศที่มีการตรารับรองไว้เป็นการเฉพาะ จะเห็นได้ว่านิยามในร่างฯ ไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้อย่างครอบคลุม ซึ่งแนวทางที่จะคุ้มครองผู้เสียหายได้อย่างแท้จริง จะต้องแก้ไขบทนิยาม ความว่า “ผู้ใดกระทำด้วยประการใด...” และเพิ่มเหตุฉกรรจ์แก่ผู้กระทำในกรณีเด็กฆ่าตัวตาย พร้อมทั้งเสนอมาตรการคู่ขนาน เพื่อให้ร่างมีความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่มีการกลั่นแกล้งเพียงครั้งเดียวเป็นเหตุให้เด็กถึงแก่ความตาย
  • Thumbnail Image
    Item
    การศึกษาการกำกับดูแลการเแพร่เสียงแพร่ภาพในระบบ OTT ของประเทศไทย
    กุลเดช สุทธิวรชัย; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการกํากับดูแลการแพร่เสียงแพร่ภาพ ในระบบ OTT เพื่อให้ทราบถึงข้อบกพร่องในการกํากับดูแลระบบ OTT ในประเทศไทย โดย เปรียบเทียบกับการกํากับดูแลการแพร่เสียงแพร่ภาพของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศสิงคโปร์ เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะที่ได้จาก การเปรียบเทียบในแนวทางการกํากับดูแลการแพร่เสียงแพร่ภาพในระบบ OTT ให้มีประสิทธิภาพ จากการศึกษาพบว่า การกํากับดูแลการแพร่เสียงแพร่ภาพในระบบ OTT ในประเทศไทย มีข้อบกพร่องอยู่ 3 ประการ คือ ประการแรก ไม่มีหน่วยงานกํากับดูแลการให้บริการ OTT ทําให้การ ให้บริการ OTT ในประเทศไทยขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่เพียงอย่างเดียว ส่งผลให้เกิดปัญหาประการที่ สองและประการที่สามในเรื่องของเนื้อหาที่ทําการเผยแพร่ในบริการ OTT นั้น ผิดกฎหมายและละเมิด ลิขสิทธิ์ และปัญหาความเป็นกลางในการให้บริการ (Net Neutrality) กล่าวคือ ผู้ให้บริการ OTT อาจจะขัดขวางไม่ให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงเนื้อหาที่เผยแพร่ได้ทั้งหมด หรือลดคุณภาพของการรับส่งข้อมูล ในการเข้าถึงเนื้อหาดังกล่าว ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าหากประเทศไทยการที่มีหน่วยงานหรือ องค์กรทําหน้าที่ในการกํากับดูแลการให้บริการ OTT โดยตรงเช่นเดียวกับต่างประเทศนั้นจะทํา ให้บริการ OTT เกิดประสิทธิภาพทั้งแก่ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ จากข้อค้นพบดังกล่าว การวางแนวทางในการกํากับดูแลการให้บริการ OTT ของต่างประเทศ นั้นมีประสิทธิภาพอย่างมากเพราะต่างมีองค์กรหรือหน่วยงานในการกํากับดูแลการให้บริการ OTT โดยตรง และทําให้ไม่เกิดปัญหาและผลกระทบตามมาจากการให้บริการ OTT อย่างเสรี ผู้วิจัยจึงได้มี การเสนอแนะแนวทางว่า ประเทศไทยต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานหรืองค์กรขึ้นมาทําการกํากับดูแลการ ให้บริการ OTT โดยตรง เพื่อกํากับดูแลในการให้บริการ OTT ในรูปแบบของการขอใบอนุญาตเพื่อ ประกอบการให้บริการ ซึ่งจะต้องผ่านหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่หน่วยงานหรือองค์กรดังกล่าวกําหนด ซึ่งมุ่งคุ้มครองทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการให้มีความเหมาะสมในการเข้าถึงข้อมูลและเพื่อให้เกิดการ กํากับดูแลเนื้อหาที่เผยแพร่อย่างถูกกฎหมายและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของเนื้อหาด้วย
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัญหาในการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในรูปของการแสดงท่าทางเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจในสินค้าโดยการโฆษณา (Advertising Gimmick)
    หทัยชนก สุกใส; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีในการให้ความคุ้มครอง เครื่องหมายการค้า โดยศึกษาหลักเกณฑ์ในการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในรูปของการ แสดงท่าทางเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจในสินค้าโดยการโฆษณา (Advertising Gimmick) เปรียบเทียบระหว่างการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าตามความตกลงระหว่างประเทศ ได้แก่ความตกลงทริปส่งอนุสัญญากรุงปารีส และตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และประเทศออสเตรเลีย เพื่อแสนอแนวทางแก้ไขและ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการเปรียบเทียบหลักในการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในรูปของการ แสดงท่าทางเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจในสินค้าโดยการโฆษณา (Advertising Gimmick) ระหว่างกฎหมายเครื่องหมายการค้าของประเทศไทย กฎหมายเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ และกฎหมายเครื่องหมายการค้าภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์ในการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าของประเทศไทยมี หลักที่สําคัญอยู่สองประการ กล่าวคือ ประการแรกต้องมีลักษณะเป็นเครื่องหมายซึ่งกฎหมาย เครื่องหมายการค้าของประเทศไทยมีการจํากัดความของสิ่งที่จะเป็นเครื่องหมายส่งผลให้สิ่งอื่นใด นอกเหนือจากที่กฎหมายกําหนดไว้ไม่สามารถเป็นเครื่องหมายได้ซึ่งแตกต่างจากการให้คํานิยาม คําว่าเครื่องหมายของต่างประเทศที่ไม่มีการจํากัดความ โดยต่างให้ความสําคัญในหลักเกณฑ์ประการ ที่สองนั่นคือ การมีลักษณะบ่งเฉพาะที่จะทําให้ผู้บริโภคสามารถแยกแยะความแตกต่างของสินค้าหรือ บริการของผู้ประกอบการแต่ละรายออกจากกันได้เพื่อให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าให้ได้ กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จากข้อค้นพบดังกล่าว การวางหลักเกณฑ์ในการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าทั้งตาม ความตกลงระหว่างประเทศ กฎหมายเครื่องหมายการค้าของต่างประเทศ ต่างไม่มีการจํากัดความของ เครื่องหมาย ทําให้สิ่งอื่นใดที่แม้ไม่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย แต่หากมีลักษณะบ่งเฉพาะก็สามารถได้รับ ความคุ้มครองในฐานะเป็นเครื่องหมายการค้าได้ผู้วิจัยจึงได้มีการเสนอแนะแนวทางว่า ประเทศไทย ควรมีการแก้ไขคํานิยามของเครื่องหมายในมาตรา 4 และหลักเกณฑ์ในการพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะ เพื่อเปิดโอกาสให้สิ่งอื่นใดสามารถได้รับความคุ้มครองในฐานะเครื่องหมายการค้าได้
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการทำประชาพิจารณ์ในโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    เบญจพร ยุติธรรมภิญโญ; พัชรวรรณ นุชประยูร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
    ในการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนนั้น รัฐต้องดำเนินการให้ได้มาเพื่อประโยชน์สาธารณะแก่ประชาชนทุกภาคส่วน ทั้งในด้านการจัดหาสิ่ง สาธารณูปโภค หรือการดำเนินการอื่นใด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนบางกลุ่ม ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้มีการกำหนดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของรัฐที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยในปัจจุบันได้มีการกำหนดบทกฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของรัฐ แต่ จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏพบว่า การให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของรัฐด้วย วิธีการประชาพิจารณ์ ไม่ได้กำหนดขอบเขตของผู้มีส่วนได้เสียที่จะเข้าร่วมการประชาพิจารณ์ใน โครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน ประกอบกับไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดแจ้งเกี่ยวกับการให้ความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่ม จึงเป็นเหตุให้มีผู้ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ หรือผู้ที่ไม่มีส่วนได้เสีย อันเนื่องมาจากการดำเนินการดังกล่าว เข้าร่วมการทำประชาพิจารณ์หรือร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งในบางกรณี การแสดงความคิดเห็นดังกล่าวอาจทำให้รัฐไม่สามารถดำเนินโครงการได้ เป็นเหตุให้ ประชาชนในพื้นที่และประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว การศึกษาวิจัยใน เรื่องนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิดของกฎหมายเกี่ยวกับการทำประชาพิจารณ์ในประเทศ ไทย และเป็นการศึกษาปัญหาและข้อจำกัดของการทำประชาพิจารณ์ เพื่อนำเสนอมาตรการทาง กฎหมายในการกำหนดกลไกของผู้มีส่วนได้เสียในการทำประชาพิจารณ์ในโครงการของรัฐที่มี ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องปรากฏว่า รัฐได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของ ประชาชนเป็นอย่างมาก โดยได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใน รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ โดยได้มีการกำหนดความหมายของผู้มีส่วนได้เสียใน การจัดทำประชาพิจารณ์ในโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่การกำหนดความหมายและขอบเขตดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจน อีกทั้ง การก าหนดความหมายของผู้มีส่วนได้เสียในระเบียบส านัก นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 และในแนวทางการ ปฏิบัติงานของส านักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ยังมีความไม่สอดคล้องกัน และไม่มีการกำหนด ขอบเขตหรือประเภทของผู้มีส่วนได้เสียให้มีความชัดเจนแต่อย่างใด นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยได้กำหนดให้ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิและหน้าที่ในการมีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนิน โครงการของรัฐที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวยังคงมีความสมบูรณ์ เช่น สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ไม่ได้มีการกำหนดให้ชัดเจนในกรณีการเปิดเผยรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นการกำหนดให้ผู้มีส่วนได้ เสียมีสิทธิมีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดี หรือเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่เกิด ความเสียหายแล้วเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการกำหนดให้ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิในการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของหน่วยงานภาครัฐในการตัดสินใจดำเนินโครงการในแนวทางที่ขัดต่อข้อคิดเห็นจากการทำประชา พิจารณ์แต่อย่างใด ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดกลไกของผู้มีส่วนได้เสีย ในการทำประชาพิจารณ์ในโครงการของรัฐที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยขอเสนอให้มีการกำหนด ความหมาย ขอบเขต สิทธิ และหน้าที่ของผู้มีส่วนได้เสียให้ชัดเจนตามระดับการได้รับผลกระทบจาก การดำเนินโครงการ และขอเสนอให้มีการจัดลำดับความสำคัญของประเภทกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึง ขอเสนอให้มีการชี้แจงเหตุผลให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียได้ทราบว่าเหตุใด หน่วยงานภาครัฐจึงมีความจำเป็น ที่จะต้องดำเนินโครงการต่อไป แม้ว่าจะไม่เป็นไปตามแนวทางการจัดทำประชาพิจารณ์ โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว อาจกำหนดไว้ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับใช้ที่ ชัดเจน เพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ และเป็นแนวทางให้ประชาชนมี ส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของรัฐที่ชัดเจน นอกจากนี้ ได้มีข้อเสนอให้ผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับ ผลกระทบจากโครงการโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ให้ได้รับสิทธิพิเศษบางประการ เช่น สิทธิพิเศษทาง ภาษี เป็นต้น